คณิตวิทย์คิดสร้างสรรค์
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองมะขวิด (จังหวัดสมุทรสงคราม)
ผู้จัดทำ นางสาวอรอนงค์ รัตนพิทักษ์
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
การจัดการศึกษาที่บูรณาการเอาความรู้ใน6 สหวิทยาการ มาใช้เน้นการนำความรู้ไปเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวและให้แก้ปัญหาในชีวิตจริง กิจกรรมก้อนหินลอยนำ้ได้นั้น ได้ฝึกให้เด็กได้คิดหาวิธีและออกแบบวัสดุที่มีใกล้ๆตัวมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ ได้แก่ เศษโฟม ก้านกล้วย หนังยาง ไม้เสียบลูกชิ้น เชือกฟาง ฝาพลาสติกของขวดนำ้อัดลม ใบไม้ กาบหมาก ซึ่งครูให้เด็กๆ ได้ลองเลือกอุปกรณ์ที่มีอยู่ในตะกร้า นำมาประดิษฐ์คิดค้นวิธีที่สามารถทำให้ก้อนหินนั้นลอยตัวอยู่บนผิวน้ำได้ โดยเด็กได้ฝึกคิดและวางแผนขั้นตอนประดิษฐ์อุปกรณ์ที่จะทำให้ก้อนหินสามารถวางอยู่บนอุปกรณ์นั้นได้โดยที่ก้อนหินไม่จมน้ำ จากการทดลองพบว่าเด็กได้ทดลองโดยใช้อุปกรณ์หลายชนิดดูและได้ลองใช้อุปกรณ์ที่เด็กคิดว่าน่าจะทำให้ก้อนหินลอยอยู่บนผิวน้ำได้ดีที่สุดก็คือโฟมและก้านกล้วยดังนั้นเด็กจึงนำไม้เสียบลูกชิ้นมาเสียบเข้ากับโฟมและก้านกล้วยเพื่อช่วยพยุงให้อุปกรณ์ลอยตัวในน้ำได้ดีโดยที่เมื่อนำก้อนหินมาวางแล้วไม่จมน้ำ เมื่อเด็กได้ลองทดลองก็พบว่าก้อนหินสามารถวางอยู่บนอุปกรณ์ที่ตนเองได้ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นสามารถวางก้อนหินได้โดยที่ไม่จมน้ำและสามารถวางก้อนหินก้อนขนาดเท่ากันได้ถึง 3 ก้อน ซึ่งการปฏิบัติกิจกรรมนี้เด็กได้รับความสนุกสนานและได้ฝึกคิด วิเคราะห์ และออกแบบและประดิษฐ์อุปกรณ์การทดลองได้ด้วยตนเองด้วย.
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8677 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8677