Healthy Yummy for Kids

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านยุบใหญ่ ม.9 (จังหวัดนครราชสีมา)

ผู้จัดทำ นางสาวรัตนาวดี กลิ่นสันเทียะ

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



            จากการเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยมุ่งสู่การพัฒนาเพื่อยกระดับความเป็น Super Teacher ได้เรียนรู้เรื่องสถานการณ์ด้านโภชนาการและสุขภาพของเด็กปฐมวัยในปัจจุบัน มีทั้งภาวะโภชนาการเกินและภาวะการขาดสารอาหาร ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย การให้ความรู้แก่ครูปฐมวัย กินอยู่อย่างไรให้เด็กไทย strong โดยมีเนื้อหาประกอบด้วยการเลือกอาหารที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย อาหารที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมอง อาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ncds การอ่านฉลากโภชนาการ รวมทั้งการให้ความรู้การจัดและบริการอาหารให้แกเด็กปฐมวัย ได้แก่ การให้ความรู้การการจัดเมนูอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย แนวทางกาจัดปรุง และการจัดเสิร์ฟอาหารที่มีปริมาณเหมาะสมและถูกต้องให้เเก่เด็ก เป็นแระโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาส่งผลให้เด็กไทยเด็กปฐมวัยเเข็งเเรงทั้งด้านร่างกายสติปัญญาอย่างเต็มศักยภาพปละลดความเสี่ยงของการเกิดโรคขาดสารอาหารและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ncds) ในวัยผู้ใหญ่ ครูปฐมวัยเป็นบุคคลากรทางการศึกษาที่สำคัญที่จะเป็นผู้ให้ความรู้ด้านอาหารโภชนาการแก่เด็กปฐมวัย การอบรมด้านโภชนาการและการประเมินภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย เพิ่มศักยภาพของครูให้เป็นผู้ที่มีความรู้ด้านโภชนาการเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอน การทำกิจกรรม การผลิตสื่อเพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งครูปฐมวัยยังเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการเฝ้าระวังการเกิดปัญหาภาวะโภชนาการ โดยประเมินภาวะโภชนาการและการติดตามการเจริญเติบโตของเด็ก ทั้งนี้เพื่อให้เด็กปฐมวัยเติบโตอย่างมีศักยภาพ มีสุขภาพที่เเข็งเเรง อาหาร เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต การที่เด็กไดรับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัย และมีปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการของร่างกายส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยได้อย่างดี การส่งเสริมความรู้ด้านอาหารและโภชนาการให้เเก่ผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง พี่เลี้ยงเด็ก รวมทั้งครูปฐมวัย จะช่วยให้เด็กได้รับอาหารที่ถูกต้องตามวัย ส่งเสริมให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดี และยังสามารถเฝ้าระวังการเกิดปัญหาทุพโภชนาการใเด็กทั้งปัญหาการขาดสารอาหารและปัญหาภาวะโภชนาการเกินที่จะทวีความรุนเเรงเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8444 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8444