Healthy Yummy for Kids
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกตาล (จังหวัดศรีสะเกษ)
ผู้จัดทำ นางสาวปวีณา เรียมทอง
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกตาล ตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้นำความรู้จากโครงการที่ได้แล้วการฝึกอบรมในโครงการยกระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยมุ่งสู่การพัฒนาความความเป็นเลิศ Super Teacher ในหัวข้อ Healthy Yummy for Kids ได้นำไปปรับใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกตาล โดยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารและโภชนาการที่มีต่อสุขภาพและสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ตลอดจนการประเมินภาวะโภชนาการและการติดตามการเจริญเติบโตของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กการจัดรายการอาหารที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย และแนวทางการส่งเสริมปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เคล็ดลับต่อไปนี้ช่วยให้คุณแม่สอนลูกวัยเตาะแตะเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินที่ดี ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ติดตัวลูกน้อยไปตลอดชีวิต 1. ฉลาดเลือกอาหาร ช่วงที่ลูกน้อยวัยเตาะแตะเปลี่ยนจากการกินนมแม่หรือนมผสมไปเป็นอาหารแบบผู้ใหญ่ ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือ การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ในปี 2008 เนสท์เล่ให้การสนับสนุนการศึกษาเรื่องการให้อาหารทารกและเด็กวัยเตาะแตะ (FITS) พบว่า เด็กวัยเตาะแตะมักกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ทำให้ได้รับโพแทสเซียมและใยอาหารน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ และเด็กวัยเตาะแตะจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งได้รับวิตามินอีจากอาหารไม่เพียงพออีกด้วย ดังนั้น การให้อาหารที่หลากหลายกับเด็กวัยเตาะแตะจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยควรให้เด็กกินผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และนม รวมทั้งน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น น้ำมันคาโนลา หรือน้ำมันถั่วเหลือง 2. กินให้หลากหลาย โภชนาการที่สมดุลขึ้นอยู่กับการกินอาหารจากกลุ่มต่างๆ ให้หลากหลายในทุกๆ วัน ทั้งธัญพืชเต็มเมล็ด ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆ และนม นอกจากนั้น คุณแม่ต้องมั่นใจว่าอาหารสำหรับลูกน้อยมีสารอาหารสำคัญ โดยเฉพาะสารอาหารที่เด็กวัย 1 ปีมักได้รับไม่เพียงพอ เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม วิตามินอี และใยอาหาร 3. กินผักและผลไม้หลากสี อาหารที่มีสีสันหลากหลายช่วยเปิดประสบการณ์การรับรสชาติใหม่ๆ และยังช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารที่หลากหลายอีกด้วย การฝึกให้ลูกน้อยกินอาหารชนิดใหม่ๆ สามารถทำได้โดยการนำไปผสมกับอาหารจานโปรดของลูก ซึ่งจะช่วยให้ลูกยอมรับอาหารชนิดใหม่ได้ง่ายขึ้น เช่น ถ้าลูกชอบกินข้าวโพด คุณแม่อาจลองเพิ่มพริกหวานสีแดงหั่นเต๋าเล็กๆ ผสมเข้าไปด้วย 4. ให้ลูกกำหนดปริมาณอาหารที่พอดี คุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักกินแค่พออิ่ม โดยให้ลูกตัดสินใจว่าจะกินอะไร ในปริมาณเท่าไร่ ถ้าหิว ก็ให้ลูกกินให้เต็มที่ และหยุดกินเมื่อรู้สึกอิ่ม 5. ฉลาดเลือกอาหารว่าง ให้ลูกกินอาหารหลักมื้อเล็กๆ วันละ 3 มื้อ และอาหารว่างอีกวันละ 2-3 มื้อ เด็กวัยเตาะแตะบางคนได้รับพลังงานจากอาหารว่างสูงถึง 25% อาหารว่างเหล่านั้นจึงควรมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี หลีกเลี่ยงอาหารว่างที่ให้พลังงานสูงแต่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ เช่น มันฝรั่งทอด คุกกี้ หรือเครื่องดื่มรสหวานต่างๆ
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8408 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8408