play and learn เพลินไปกับประกันคุณภาพ

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลโซ่พิสัย (จังหวัดบึงกาฬ)

ผู้จัดทำ นางสาวเจษฎาภา จิตนาม

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดระบบประกันคุณภาพภายในศพด.อย่างต่อเนื่องตามระบบวงจร PDCA



            . แต่งตั้งคณะกรรมการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล 2. สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ตามมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ทุกมาตรฐาน 3. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ประกอบด้วยบุคลากรจากทุกฝ่ายของโรงเรียน พร้อมทั้งมอบหมายให้ทำการตรวจประเมินข้ามฝ่ายกัน เพื่อจะได้พบข้อบกพร่องของการทำงานง่ายขึ้น ซึ่งจะได้ช่วยกันแก้ไขข้อบกพร่องนั้นต่อไป 4. อบรม/ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตรวจประเมินภายใน และ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน และตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการสรุปผลการประเมิน 5.โรงเรียนวางแผนกำหนดระยะเวลาในการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาตลอดปี 6. กรรมการตรวจประเมินวางแผนกำหนดระยะเวลาในการทำการตรวจประเมินคุณภาพภายใน แต่ละครั้ง แล้วแจ้งให้ผู้รับการตรวจประเมินทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ 7. คณะกรรมการตรวจประเมินเตรียมเอกสาร และเครื่องมือประเมินหลาย ๆ ตัวบ่งชี้เข้าด้วยกัน สำหรับการถามบุคลากรแต่ละประเภท เช่น ควรตรวจสอบเครื่องมือประเมินที่ใช้กับนักเรียนทั้งหมด แล้วออกแบบว่าจะจัดทำกี่ฉบับ จะจัดพิมพ์อย่างไร จะดำเนินการอย่างไร เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ตอบแบบสอบถาม/ผู้รับการประเมิน ซึ่งถ้าทำการสอบถามบ่อย หรือสอบถามทุกวัน จะทำให้เกิดความรำคาญและความเบื่อหน่ายของผู้ตอบ อันจะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง 8. ดำเนินการตรวจประเมิน โดยใช้เครื่องมือประเมินที่สร้างขึ้นและเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงที่พบตามเครื่องมือประเมิน 9. สรุปผลการตรวจประเมิน 10. เขียนรายงานผลการประเมินตนเอง 11. ส่งรายงานให้หน่วยงานต้นสังกัด ผู้เกี่ยวข้อง และสาธารณชน ตามความเหมาะสม การสร้างเครื่องมือเก็บรวมรวมข้อมูล ​การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล อาจจะดำเนินการได้ดังนี้ กำหนดกรอบการตรวจประเมินคุณภาพภายในโรงเรียน เพื่อเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลพื้นฐานตามมาตรฐาน และตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวางแผนกำหนดสิ่งต่อไปนี้ ด้านที่จะประเมิน (ผลผลิต/กระบวนการ/ปัจจัย) มาตรฐานที่จะประเมิน ตัวบ่งชี้ที่จะประเมิน แหล่งข้อมูล/แหล่งที่สามารถให้ข้อมูลได้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีวิเคราะห์ และสรุปข้อมูล เกณฑ์ระดับคุณภาพของผลการประเมิน 3. รูปแบบการอบรม การบรรยาย โดยมีเอกสารการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ วิทยากรบรรยายโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Office PowerPoint ผู้เข้าอบรมได้สอบถามปัญหา และแนวทางการปฏิบัติงาน โดยวิทยากรให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง การเชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ต่อตนเอง ได้แก่ 1.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษา 2. มีความรู้เรื่องกระบวนการตรวจสอบ และการประเมินภายในเป็นอย่างดี 3.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่จะทำการตรวจประเมินพอสมควร 4. สามารถวิเคราะห์เรื่อง/เหตุการณ์ตาง ๆ 5. เข้าใจสถานการณ์ กฎ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อกับสถานศึกษา 6. เคยผ่านการฝึกอบรมวิธีการตรวจประเมินภายในสถานศึกษา ต่อหน่วยงาน ได้แก่ 5. นำผลการอบรมสัมมนา มาปรับข้อมูลในแผนปฏิบัติการประจำปี แผนยุทธศาสตร์สรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษา (SAR) ให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 6. จัดทำตัวบ่งชี้เพื่อวัดระดับความสำเร็จ 7.จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานและรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR ครู)

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8223 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8223