play and learn เพลินไปกับประกันคุณภาพ

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหลุ่งตะเคียนตะเคียนทอง (จังหวัดนครราชสีมา)

ผู้จัดทำ นางสาวสุพัฒตรา เพียงโงก

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



            การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Playand Learn) มีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยดังนี้ 1.ช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่รู้สึกผ่อนคลายให้กับเด็ก บรรยากาศการเรียนที่มีความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่มีความตึงเครียด เป็นการระบายอารมณ์ จะเป็นสิ่งที่สร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับเด็ก และเป็นการขยายช่วงความสนใจในการเรียนของเด็กให้ยาวนานขึ้น 2. ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยผ่านขบวนการค้นคว้า สำรวจ ทดลองผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การเล่นปนเรียนเด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าทำให้เด็กสามารถพัฒนาในด้านต่างๆ เด็กจะรู้จักชื่อเรียกของสิ่งต่างๆ หรือลักษณะของสิ่งนั้นจากการมองหรือสังเกตด้วยตา เด็กจะเรียนรู้ผิวสัมผัสของสิ่งต่างๆว่านุ่ม แข็ง เรียบ หรือขรุขระ จากการได้จับต้อง สัมผัสสิ่งนั้น เด็กจะเรียนรู้รสชาติของอาหารและเครื่องดื่มจากการใช้ลิ้นในการชิมรส เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับเสียงและแยก แยะเสียงต่างๆได้จากการใช้ประสาทสัมผัสหูเพื่อฟังเสียงต่างๆ และเด็กจะเรียนรู้กลิ่นว่ามีกลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็นจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง จมูกในการดมกลิ่น 3. ช่วยให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และส่งเสริมเชาวน์ปัญญาจากการเล่นปนเรียน เด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดริเริ่มแปลกใหม่ รู้จักใช้สติปัญญามาประยุกต์เพื่อสร้างผลงานทางการเล่นที่ไม่ซ้ำซากเช่นเดิม หรือเลียนแบบจากตัวอย่างที่เคยเห็นเพียงอย่างเดียว เช่น การเล่นต่อบล็อก การเล่นปั้นดินน้ำมัน การเล่นพลาสติกสร้างสรรค์ เป็นต้น 4. ช่วยพัฒนาเด็กให้มีทักษะทางสังคม การเล่นปนเรียนที่มีลักษณะของการเล่นแบบกลุ่ม เช่น การทำงานศิลปะประ ดิษฐ์เป็นกลุ่ม การเล่นบทบาทสมมติเป็นกลุ่ม เป็นการเล่นปนเรียนที่ช่วยให้เด็กมีความเป็นผู้นำ ผู้ตาม รู้จักสับเปลี่ยน รอคอย วางแผน เสียสละ ให้อภัย และปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น มีน้ำใจต่อกันและกัน 6. ช่วยให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นนามธรรมง่ายยิ่งขึ้น การเล่นปนเรียนจะช่วยให้เด็กเข้าใจและมีความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เช่น การเรียนรู้คำและจำนวน การที่ครูให้เด็กเรียนรู้ค่าจำนวนโดยใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมมาให้เด็กได้เล่น เช่น การเล่นกับเมล็ดมะขามและเด็กจะได้เรียนรู้ค่าและจำนวนจากเมล็ดมะขาม เด็กเรียนรู้เรื่องสีจากการเล่นร้อยดอกไม้ เรียนรู้จักสัตว์จากการเล่นปั้นดินน้ำมันเป็นสวนสัตว์ เรียนรู้การบวกเลขจากการเล่นเกมการศึกษาพื้นฐานการบวก เป็นต้น 7. ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กให้กับเด็ก สำหรับพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่เกิดจากการเล่นที่เด็กได้อวัยวะส่วนแขน ขา ลำตัวในการเล่นเกมต่างๆ เช่น เกมการละเล่น เกมพลศึกษา เป็นต้น ส่วนพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กเกิดจากการที่เด็กได้หยิบ จับ สัมผัสวัสดุอุปกรณ์ในการเรียน เช่น การเล่นบล็อก การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส การทำกิจกรรมศิลปะต่างๆ เป็นต้น 8. พัฒนาเด็กในด้านคุณธรรมและจริยธรรม กิจกรรมการเล่นปนเรียนที่เด็กมีโอกาสเล่นเป็นกลุ่ม นอกจากจะช่วยเด็กให้เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นแล้ว การเล่นปนเรียนเป็นกลุ่มยังส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในหลายด้าน เช่น ความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำใจ การเสียสละ การรอคอย ความสามัคคี เป็นต้น 9. ส่งเสริมทักษะทางภาษาให้กับเด็ก ในการเล่นปนเรียนเด็กมีโอกาสเล่นกับเพื่อนในกิจกรรมต่างๆ เด็กมีโอกาสในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารกับเพื่อนขณะเล่น ได้พูด สนทนา โต้ตอบกัน โดยการเล่นเลียนแบบ การเล่นบทบาทสมมติ

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8221 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8221