ONE SONG HIT การเล่านิทานที่เน้นกระบวนการคิดแบบเชื่อมโยง

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่กระต๋อม ตำบลป่าสัก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ (จังหวัดแพร่)

ผู้จัดทำ จุฬารัตน์ แสนใจยา

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ



            (Play & Learn) เพลินไปกับการประกันคุณภาพศึกษา โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยมุ่งสู่การพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศ (super teacher) การจัดกิจกรรม (Play and Learn) ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพการศึกและการจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Play and Learn) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่กระต๋อม ตำบลป่าสัก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ จึงได้นำกิจกรรม One Song Hit เทคนิคการเล่านิทานที่เน้นกระบวนการคิดแบบเชื่อมโยง โดยบูรณาการการเชื่อมโยงเพลงกับนิทาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมทักษะการคิดเแบบเชื่อมโยง ทักษะการฟัง ทักษะการสังเกต การเล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ช่วยส่งเสริมพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกาย ดังนี้ การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กเกิดสุนทรียภาพจากการฟังนิทานและการร้องเพลง ด้านสังคม เด็กร่วมร้องเพลงได้ถูกจังหวะ ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับนิทาน และด้านสติปัญญา การเชื่อมโยงเพลงกับคำสำคัญและเป็นเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง การเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กก่อนวัยเรียนหรือเด็กที่มีอายุ 3 – 5 ขวบ เป็นอย่างมาก เพราะนิทานเป็นเรื่องของความบันเทิง ฟังแล้วเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้รู้เรื่องราวต่างๆ ที่แปลกใหม่ ให้ข้อคิดและคติเตือนใจ และนิทานยังเป็นสื่อที่มีพลังมากมาย ในการเปลี่ยนแปลงเด็ก เด็กสามารถตอบสนองต่อการเล่านิทานได้อย่างดีตั้งแต่ในวัยทารก นิทานนอกจากจะให้ความบันเทิงฟังแล้วเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แล้วในนิทานยังมีเนื้อเรื่องที่หลากหลาย และผู้เล่าควรเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมที่จะทำให้เด็กฟังแล้วสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องได้ ซึ่งเทคนิคดังกล่าวก็ คือ การเล่านิทานแบบเล่าเรื่องซ้ำเพราะคุณค่าต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในนิทานจะถูกประทับไว้ในใจเด็กอย่าง ลึกซึ้งการที่เด็กฟัง นิทานช้าๆ ไม่ใช่เพื่อจดจำ เพราะเด็กในวัยนี้มีพัฒนาการอย่างพิเศษของการจดจำที่ แม่นยำเด็ก ส่วนมากสามารถจำนิทานได้หลังจากฟังนิทานเพียงครั้งเดียว หากแต่การเล่านิทานซ้ำ ๆ กัน เป็นเวลานานนั้นช่วยให้เซลล์สมองของเด็กสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การเล่านิทานซ้ำแล้วซ้ำอีกจะช่วยให้พลังในส่วนลึกของนิทานสามารถเข้าไปมีอิทธิพลกับจิตใจของเด็กซึ่งจะช่วย ให้เด็กสามารถจับใจความ เก็บเอาความคิด และความหมายในนิทานเข้าไป พัฒนาเป็นความเข้าใจอย่างถ่องแท้ภายในตัวของเขาเองซึ่งจะเป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และยาวนาน มากกว่าการเล่าเพียงครั้งเดียว ในการเล่า เรื่องในครั้งต่อไป อาจเปลี่ยนจากที่นักเรียนเคยเป็นแต่เพียงผู้ฟังมาเป็นผู้พูดหรือผู้เล่าและพร้อมกันนี้ นอกจากจะเป็นผู้เล่าแล้วก็จะได้เข้าถึงเรื่องราวโดย ผลัดเปลี่ยนไปเป็นผู้แสดง ประกอบการเล่าเรื่อง เพื่อให้เข้าใจในเนื้อเรื่องได้ชัดเจนลึกขึ้นด้วย

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8205 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8205