การแก้พฤติกรรมเด็กไม่กินผัก โดยการเล่านิทานประกอบหุ่นมือ
สร้างโดย ศพด.อบต.ปากบาง (จังหวัดสงขลา)
ผู้จัดทำ นางสาวสือนะ ดามิ
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
จากประสบการณ์ในการสอนระดับอนุบาลมาหลายปีโดยทุกปีจะพบว่ามีเด็กจํานวนหนึ่งไม่รับ ประทานผักเลยและบางคนก็จะรับประทานน้อยมาก โดยเลือกรับประทานเป็นบางชนิด ในห้องที่ดิฉันสอน มีทั้งหมด 15 คน เมื่อสังเกตมาประมาณ 2เดือน เห็นว่า เวลารับประทานอาหารกลางวันมีเด็ก 5 คน มีพฤติกรรมในการไม่รับประทานผักทุกชนิด การที่เด็กจะเจริญเติบโตมีร่างกายแข็งแรงได้นั้น อาหารที่เด็กรับประทานเป็นส่วนสําคัญจะทําให้ เด็กเจริญเติบโต นอกจากนั้นการรับประทานอาหารควรเสริมสร้างให้มีตั้งแต่ในวัยเด็ก จะมีผลต่อการ บริโภคเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ด้วย การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและจะต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดังนั้นครูจึงจําเป็นจะต้องเอาใจใส่ดูแลให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดัง ผู้อํานวยการสถาบันพัฒนาเด็กไทย-โฟรเบล ฝูายวิชาการ รศ.ดร.วิชัย วงษใหญ ท่านให้แนวทางในการ ที่จะทําให้เด็ก ๆ ทานผักได้ง่ายขึ้น โดยการบดอาหารประเภทผักให้เด็กได้ทานตั้งแต่เด็กทานอาหารได้ ค่อย ๆ ให้ทานทีละน้อยและบ่อยๆ เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับกลิ่นและรสชาดของผัก จะเป็นการเริ่มกินผักได้ เร็วขึ้น ซึ่งตรงกับเอกสารการอบรมอาหารเพื่อพัฒนาสมองของลูกรัก รศ.นพ. สังคม จงพิพัฒนาวณิชย แพทย ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กให้ความรู้เกี่ยวกับการฝึกเด็กให้ทานผักอย่างมีความสุข โดยฝึกให้เด็กลงมือ ปฏิบัติจริงจากกระบวนการเล่นบทบาทสมมุติ เป็นผู้ช่วยคุณแม่ปรุงทหารจานอร่อย เด็กได้ลงมือหั่นผัก เองช่วยนําไปล้างใส่หม้อปรุง โดยคุณแม่เป็นผู้ช่วยเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจในการปรุงอาหารได้ด้วยตน เอง จะรับประทานของที่ตนเองทําได้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในหลาย ๆ วิธีในการฝึกเด็กให้รับประทานผัก จากนักวิชาการและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กดังกล่าวข้างต้น ดิฉันสนใจที่จะจัดกิจกรรม การเล่านิทานประหอบหุ่นมือ เพื่อพัฒนาให้เด็กได้รับประทานผักเพื่อเด็กจะได้รับสารอาหารจากมื้อกลางวันที่ทาง โรงเรียนจัด โดยศึกษาเมนูอาหารในภาคเรียนที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบการจัดอาหารกลางวันให้กับเด็ก ปฐมวัย พร้อมติดต่อกับผู้ปกครองในเรื่องการรับประทานอาหารที่บ้าน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขสุขนิสัย การรับประทานอาหารเกี่ยวกับผักเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ และมีสุขภาพแข็งแรง มี เจตคติที่ดีต่อการรับประทานผักอย่างมีความสุข
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8184 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8184