Super teacher (Play Dough-Play Ideas)ประติมากรรมศิลปินน้อย
สร้างโดย ศพด.อบต.ปากแจ่ม (จังหวัดตรัง)
ผู้จัดทำ นางรังสิมา ไชยกาล
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Play and Learn) หมายถึง วิธีการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยโดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้ว ด้วยการใช้เทคนิควิธีการบูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก และการเล่นให้เข้าด้วยกัน ทำให้เด็กได้เล่น แสดงออก ได้ร้องเพลง ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน อยากเรียนรู้มากขึ้น การเล่นปนเรียนเป็นการเล่นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญ ญาภายใต้การอำนวยความสะดวก สนับสนุน ชี้แนะ ช่วยเหลือของครูในด้านต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้แบบเล่นปนเรียนเกิดประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุด การปั้นช่วยพัฒนาทักษะทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านกายภาพ เช่น กล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งในส่วนนี้ เด็กยุคใหม่จะเริ่มมีปัญหากันมาก เพราะเล่นแต่เกมคอมพิวเตอร์ และคลิกเมาส์อย่างเดียว ส่งผลให้จับปากกาไม่ได้ เพราะกล้ามเนื้อมัดเล็กไม่แข็งแรง ส่วนด้านที่ 2 คือเรื่องของ อารมณ์ งานปั้นแป้งโดว์จะช่วยฝึกสมาธิ ทำให้เด็กซน สามารถนั่ง และจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำได้นานขึ้น นอกจากนี้ ยังจะช่วยในเรื่องของมิติสัมพันธ์ ทำให้เด็ก สามารถมองภาพที่เป็น 3 มิติ ได้ดีขึ้น ประโยชน์ของการปั้น • พัฒนากล้ามเนื้อมือกล้ามเนื้อมัดเล็ก มือและนิ้วมือ ในการนวด นวด คลึง และปั้น • พัฒนากล้ามเนื้อมือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ แขนหยิบจับเล่น • พัฒนาประสาทสัมพันธ์ สอดคล้องระหว่างตากับมือ ระหว่างที่ปั้น • พัฒนาทักษะทางด้านภาษาในการอธิบายผลงานของตนเอง • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ • ฝึกสมาธิทำให้เด็กจดจ่อกับงานที่ทำได้นานมากขึ้น • ผ่อนคลายอารมณ์เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินขณะทำกิจกรรม • เสริมสร้างความภูมิใจในตัวเอง พึงพอใจในผลงานของตน • พัฒนาการทางด้านสังคม โดยเด็กสามารถเล่นร่วมกับเพื่อนได้ • ฝึกนิสัยการเก็บของเล่นให้เป็นที่ การรักษาของ เพราะหลังจากเล่นเสร็จแล้วต้องเก็บแป้งโดว์ให้มิดชิด และดูแลแป้งโดว์ให้มีอายุนานขึ้นเพื่อที่จะนำมาเล่นได้อีกในครั้งต่อไป จากการจัดกิจกรรมเด็กๆได้แสดงความคิดและแสดงออกโดยเสรีมีทัศนคติที่ดีต่อศิลปะ
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8119 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8119