โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
สร้างโดย ศพด.อบต.คุระ (จังหวัดพังงา)
ผู้จัดทำ นางสาวนรานุช เงินเปีย
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต การที่เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัย และมีปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยได้อย่างดี อาหารหลัก 5 หมู่ เนื่องจากไม่มีอาหารชนิดใดเพียงชนิดเดียวที่สามารถให้สารอาหารแก่ร่างกายได้อย่างครบถ้วน ดังนั้นนักโภชนาการจึงได้แนะนำให้รับประทานอาหารหลากหลายชนิดในแต่ละมื้อ เพื่อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารครบทุกชนิด ดังนั้นการแบ่งอาหารออกเป็นหมวดหมู่โดยจำแนกตามสารอาหารที่มีมากเป็นองค์ประกอบ อาหารที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันรวม 5 ชนิด โดยสารอาหารที่เหมือนกันจะถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน และร่างกายของคนเราก็ต้องการสารอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หรือ 5 ชนิด ในแต่ละวัน เพราะไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่สามารถจะให้สารอาหารได้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเราสามารถแบ่งอาหารออกเป็นหมู่หลัก ๆ ได้ 5 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 1 โปรตีน (เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว) หมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน) หมู่ที่ 3 เกลือแร่หรือแร่ธาตุ (พืชผัก) หมู่ที่ 4 วิตามิน (ผลไม้) หมู่ที่ 5 ไขมัน (ไขมันจากพืชและสัตว์) ความต้องการสารอาหารของเด็กปฐมวัย ความต้องการปริมาณพลังงาน และสารอาหาร 1.ความต้องการพลังงานวันละ1,000-1,300 กิโลแคลอรี(Kilocalorie) ซึ่งพลังานเหล่านี้จะมาจากอาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต (เช่น ข้าว, แป้ง, ธัญพืชต่างๆ), โปรตีน( เช่น นม, ปลา, หมู,ไก่), วิตามิน และเกลือแร่( เช่น ผัก, ผลไม้), และไขมัน เป็นต้น 2.ความต้องการโปรตีนที่เด็กวัยนี้ต้องการ คือ “1.2-1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน (18-22 กรัมต่อวัน)” เพื่อช่วยการเจริญเติบโตและสร้างกล้ามเนื้อต่างๆ ซึ่งโปรตีนอยู่ในอาหารประเภท ไข่ นม เนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น เนื้อปลา หมู ไก่ เป็นต้น นอกจากนี้ในพืช เช่น ถั่วต้มจนเปื่อย เต้าหู้ ก็สามารถนำมาดัดแปลงเป็นเมนูอาหารที่มีโปรตีนให้เด็กได้เช่นกัน ทั่วไป เด็กควรได้รับไข่วันละ 1 ฟอง และได้ดื่มนมรสจืดทุกวัน 3.ความต้องการวิตามินและเกลือแร่ เด็กปฐมวัยต้องได้รับวิตามินและเกลือแร่ต่างๆในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อความเจริญเติบโต ได้แก่ - วิตามินบี 1 - วิตามินบี 2 - วิตามิน C - แคลเซียม - เหล็ก - ไอโอดีน 4.ความต้องการน้ำ เด็กที่มีอายุ 1-3 ปี มีความต้องการน้ำ 1,000 – 1,500 มิลลิลิตรต่อวัน เด็กอายุมากกว่า 3-5 ปี มีความต้องการน้ำ1,300 – 1,950 มิลลิลิตรต่อวัน
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8036 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8036