คณิตศาสตร์ หรรษากับนิทานเปรียบเทียบ (Super Teacher)

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งโปร่ง (จังหวัดหนองบัวลำภู)

ผู้จัดทำ นางพัฒนา ปลุกใจ รหัส 571461321439

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย



            การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นอกจากมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ทั้ง 5 สาระ ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น แล้ว ผู้เรียนต้องมีทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นความสามารถในการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในงานหรือในชีวิตจริง โดยหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กำหนดให้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นสาระหนึ่งในสาระที่เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ ทั้งนี้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ที่ระบุในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่ 1. การแก้ปัญหา (Problem Solving) 2. การให้เหตุผล (Reasoning) 3. การสื่อสาร (Communication) 4. การเชื่อมโยง (Connection) 5. การคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในการเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ให้แก่ผู้เรียน ครูคณิตศาสตร์สามารถให้นักเรียนทำกิจกรรมที่พัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ และวุฒิภาวะของนักเรียน ในที่นี้จะนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมที่พัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์– คณิตศาสตร์ในโรงเรียนครั้งที่ 19 (วทร.19 ) เพื่อครูสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับนักเรียนในชั้นเรียน

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8015 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8015