Play&Learnเพลินไปกับประกันคุณภาพการศึกษา

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองจิก (จังหวัดนครราชสีมา)

ผู้จัดทำ นางสาวจารุณี ทองเหล็ก

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



            การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีความแตกต่างไปจากเด็กในวัยอื่น การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่นที่หลากหลาย ฟรอเบล (Froebel) ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการอนุบาลศึกษาเชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้น การจัดกิจกรรมให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยจึงเป็นกิจกรรมเล่นปนเรียน หากสังเกตพฤติ กรรมการเรียนรู้ของเด็กทารก จะพบว่าเด็กในวัยนี้จะเล่นเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งในระยะแรกเราอาจจะไม่ได้คิดว่าสิ่งที่เด็กทำนั้นเป็นการเล่น เพราะการเล่นของเด็กในระยะนี้เริ่มโดยการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายซ้ำๆ รวมทั้งเสียงซ้ำๆอยู่ตลอด เวลา ต่อมาเมื่อทารกจะมุ่งความสนใจในการเล่นออกไปที่คนอื่นหรือของสิ่งอื่น เช่น การเล่นเสียงระดับต่างๆเพื่อดูการตอบ สนองของแม่ หรือสำรวจร่างกาย หน้าตาของแม่ด้วยนิ้วมือ เป็นต้น การเล่นเกี่ยวกับตนเองนี้เป็นการเริ่มต้นที่จะเรียนรู้ลักษณะต่างๆของสิ่งแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่ ต่อมาเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้นพอที่จะใช้สายตาหรือมือในการหยิบจับสัมผัสสิ่งต่าง ๆได้มากขึ้น หรือเด็กสามารถใช้กล้ามเนื้อเล็กอย่างประสานสัมพันธ์มากขึ้น เด็กจะเริ่มเล่นในโลกส่วนตัวของเขาเอง คือเด็กจะเล่นกับของเล่นหรือวัตถุที่อยู่รอบตัว เช่น ตุ๊กตา ลูกโป่ง หรือของเล่นอื่นๆที่แม่นำมาไว้ใกล้ๆตัวพอที่เขาจะหยิบจับ หรือไขว่คว้าได้ ซึ่งการเล่นในโลกเล็กๆของเด็กนี้จะเป็นการช่วยให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีกฎเกณฑ์บาง อย่างที่เด็กต้องเรียนรู้ เช่น สิ่งของนั้นอาจแตกสลายหรือสูญหายได้ หรือเป็นสิ่งของของคนอื่น หรืออาจถูกควบคุมจากผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า เช่น เด็กโตหรือผู้ใหญ่ ต่อมาเมื่อเด็กมีอายุ 2 – 3 ขวบ เด็กอาจเล่นของเล่นชนิดเดียวกันกับคนอื่นๆที่นั่งใกล้ ๆกัน แต่ต่างคนต่างเล่น ที่เรียกว่า การเล่นแบบคู่ขนาน เช่น เด็กอาจเล่นดินน้ำมันโดยนั่งเป็นวงกลม ถ้ามองแบบผิวเผินคิดว่าเด็กเล่นด้วยกันเป็นกลุ่ม แต่ถ้าหากเข้าไปสังเกตพฤติกรรมการเล่นอย่างใกล้ชิดจะพบว่า เด็กจะเล่นปั้นดินน้ำมันแบบต่างคนต่างปั้น เด็กจะพูดเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กปั้น และไม่ได้นำสิ่งที่ปั้นมาร่วมกันสร้างชิ้นงานแต่อย่างใด แต่เมื่อเด็กมีอายุ 4 – 5 ขวบ รูป แบบการเล่นของเด็กจะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปจากการเล่นแบบต่างคนต่างเล่น เด็กในช่วงนี้จะเริ่มเรียนรู้การเข้ากลุ่ม เริ่มมีการวางแผนร่วมกันในการทำกิจกรรมต่างๆ มีการรู้จักรับผิดชอบและแบ่งหน้าที่ต่างๆในการทำกิจกรรม พฤติกรรมการเล่นจึงเป็นลักษณะของการเล่นเป็นกลุ่มหรือการเล่นแบบร่วมมือ ลักษณะของการเการพัฒนาทักษะทางสังคม โดยเฉพาะความรับผิดชอบและการสร้างวินัยในตนเองให้กับเด็ก การเล่นปนเรียนจึงเป็นวิธีการที่ครูผู้สอนนำมาใช้เพื่อสอนเด็กให้เกิดทักษะประสบการณ์หรือความรู้ โดยครูใช้การจูงใจให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการทำกิจ กรรม ซึ่งกิจกรรมนั้นคือการเล่นของเด็ก การเล่นปนเรียนเป็นวิธีการจัดประสบการณ์ที่ให้เด็กได้เล่นและทำกิจกรรมการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน เป็นการบูรณาการความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่างๆที่เด็กควรได้รับให้เข้ากับกิจกรรมการเล่น ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้และตามธรรมชาติของเด็กที่ชอบการเล่นอยู่แล้ว การจัดกิจกรรมการเรียนให้มีการเล่นย่อมทำให้เด็กสนุกสนานและอยากเรียนมากขึ้น ครูจึงบูรณาการสิ่งที่ต้องการให้เด็กได้เรียนรู้ให้เข้ากับกิจกรรมการเล่นของเด็ก ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ด้วยการแสดงออก การเล่นภายใต้การดูแลช่วยเหลือของครู ซึ่งเป็นวิธีการที่ครูนำเอาธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนการรู้การจัดการกิจกรรม

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8001 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8001