Healthy Yummy for Kids กิจกรรมทำไข่ครกหรรษา

สร้างโดย ศพด.อบต.เมืองฝาง (จังหวัดบุรีรัมย์)

ผู้จัดทำ จิตราภรณ์ เอี่ยมรัมย์

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



            เพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดี ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพและปริมาณอาหารต่างๆ ที่เตรียมให้เด็ก โดยเลือกใช้วัตถุดิบอาหารที่มีคุณภาพ และวิธีการปรุงอาหารที่เหมาะสมหลักเกณฑ์การจัดเตรียมอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย คือ 1. การจัดทำเมนูอาหารหมุนเวียน 1 เดือน ตามมาตรฐานโภชนาการ 2. ในการจัดอาหารเป็นชุด/สำรับ หรืออาหารเป็นจานเดียว ถ้าเป็นเมนูที่เป็นการผัดด้วยน้ำมันจะต้องจับคู่กับผลไม้ ของหวานที่เป็นกะทิไม่ควรจับคู่กับอาหารที่เป็นมัน ควรมีกลุ่มอาหารข้าว แป้งเป็นหลัก 3. เนื้อสัตว์ให้ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายสลับหมุนเวียนกันไป 4. ควรมีผักเป็นส่วนประกอบในอาหารเป็นประจำทุกมื้อ 5. เลือกใช้ชนิดของอาหารที่มีความเข้มข้นของสารอาหารมาปรุงประกอบเป็นอาหารสำหรับเด็ก เช่น ตับ เลือด เต้าหู้ เป็นต้น 6. ควรมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบในอาหารเป็นประจำในปริมาณที่แนะนำใน 1 วัน 7. ควรใช้เกลือและน้ำมันปลาผลมไอโอดีนในการปรุงอาหาร เพื่อเพิ่มธาตุไอโอดีน 8. ควรจัดนมเป็นอาหารว่าง อย่างน้อยวันละ 1-2 แก้ว(200 มิลลิลิตรต่อแก้ว) 9. การจัดอาหารว่างประเภทขนมปังที่มีไส้ควรเลือกไส้ที่เป็นเนื้อสัตว์ เช่น ขนมปังไส้ไก่หยอง ขนมปังไส้หมูหยอง เป็นต้น 10. ขนมไทยควรเลือกที่มีส่วนประกอบของถั่วต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น ถั่วเขียวต้มน้ำตาล หรือหากปรุงรสเองก็ควรลดปริมาณน้ำตาลลงประมาณ 1/3 ของปริมาณเดิมเพื่อให้หวานน้อยลง

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=7984 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 7984