Healthy Yummy For Kid "Super Teacher"

สร้างโดย ศพด.บ้านดง หมู่ 5 (จังหวัดแม่ฮ่องสอน)

ผู้จัดทำ นางสาวสุภาวิณี พรหมเสริมสุข

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย



             พลังงาน เป็นสิ่งจำเป็นที่เด็กต้องการจากอาหารที่หลากหลาย เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี โดยปกติแหล่งพลังงานหลักคือ อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต โปรตีนจำเป็นมากสำหรับการสร้างเนื้อเยื้อใหม่ ซ่อมแซม และทดแทนเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพ ไขมันก็ขาดไม่ได้ แต่ต้องการในปริมานที่น้อยที่สุด วิตามินและเกลือแร่ เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และไอโอดีน ทำให้มีร่างกายเติบโตอย่างเป็นปกติ และยังช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานจากสารอาหารตัวอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นในการดูแลเรื่องอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ควบคู่กับการสอนเรื่องการทานอาหารที่มีประโยชน์ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อเตรียมพร้อมการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ทั้งนี้เพื่อให้เด็กปฐมวัยเติบโตอย่างมีศักยภาพ มีสุขภาพเเข็งเเรง อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต การที่เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนถูกสุขลักษณะสะอาด ปลอดภัยและมีสารอาหารปริมาณเพียงพอกับความต้องการสำหรับเด็กปฐมวัย ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยได้เป็นอย่างดี หากภาวะโภชนาการบกพร่องจะนำไปสู่การชะงักของการเจริญเติบโตของร่างกายแคระแกรน ซึ่งภูมิคุ้มกันบกพร่องทำให้เจ็บป่วยและกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดคุณภาพที่สำคัญคือ มีผลกระทบต่อสติปัญญาและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมตามความต้องการของเด็ก จะส่งเสริมให้ส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตตามวัยได้ สำหรับเด็กปฐมวัยควรหลีกเลี่ยอาหารฟาสฟู้ด อาหารที่มีรสจัด ของขบเคี้ยว น้ำอัดลม หากเด็กกินฟาสฟู้ดเป็นอาหารกลางวัน มื้อเช้ากับมื้อเย็นก็ควรมีผักและผลไม้เป็นส่วนประกอบ เพื่อให้ได้รับวิตามินและใยอาหารด้วย ซึ่งพ่อแม่จะต้องคอยให้ความรู้กับลูกๆ เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พร้อมกับฝึกนิสัยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วย ดังนั้นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และสติปัญญา เมนูอาหารที่เลือกจัดกิจกรรมให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็ก คือ ส้มตำ ครูและเด็กร่วมกันทำส้มตำ ซึ่งเป็นเมนูที่ใช้วัสดุอุปการณ์ที่มีอยู่ในชุมชน ที่สะอาดปลอดภัย เด็กและครูมีส่วนในกระบวนการ การเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ เด็กมีความสุข สนุกสนานเพลิดเพลินจากการร่วมกิจกรรม

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=7824 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 7824