การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหล่า (จังหวัดอุดรธานี)

ผู้จัดทำ นางสาวนันทิยา แก้วเชียงหวาง

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย



            จดหมาย ส่งยิ้มทั่วไทยครูเล่าเรื่อง(Super Teacher ) การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้อง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้เด็กนั้นผู้ปกครองต้องอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและต้องอาศัยการวางแผนและเตรียมการให้ดี เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องจำนวน การนับตัวเลข ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นไป การที่เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้แบบเข้าใจง่ายผู้ปกครองต้องใช้สื่อที่เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่เกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติและเวลา เด็กต้องเริ่มเข้าใจในสัญลักษณ์เหมือนกับการเรียนภาษาพูด ตัวเลขจึงเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่ผู้ปกครองหรือครูต้องพยายามทำให้เด็กเข้าใจ แต่มิใช่ทำให้เด็กจดจำตัวเลขให้ได้ด้วยการท่อง 1-10 หรือเขียนตัวเลขได้แต่ไม่เข้าใจเรื่องจำนวน การทำซ้ำ ๆ โดยใช้สิ่งของใกล้ตัวของจริงให้เด็กนับจับคู่ตัวเลขโดยให้เด็กทำบ่อย ๆ จนเกิดความแม่นยำจะจดจำได้นาน ซึ่งผู้ปกครองทำเองได้ง่าย ๆ ที่บ้านค่ะ ผู้ปกครองสามารถใช้บัตรภาพจำนวนพร้อมมีตัวเลขกำกับ ใช้วิธีเดิมค่ะ คือติดตามฝาผนัง ขั้นบันได เมื่อเวลาเด็กก้าวขึ้น-ลง บันไดเมื่อเห็นสัญลักษณ์หรือภาพตามขั้นบันได เด็กก็จะนับทั้งแบบเรียงลำดับและนับแบบถอยหลัง เช่น 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0 เมื่อเราเริ่มจากง่าย ๆ เด็กก็จะเข้าใจในเรื่องจำนวนและตัวเลขแล้วค่อย ๆ เพิ่มความยากให้เด็กตามลำดับ ก็จะเรียนรู้ในเรื่อง การสังเกต เปรียบเทียบ มากกว่า-น้อยกว่า สั้น-ยาว สูง-ต่ำ ใหญ่-เล็ก หนัก-เบา ลำดับเพิ่ม-ลด ปริมาตรมาก-น้อย ซึ่งเรื่องพวกนี้สามารถอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กมาเป็น พื้นฐานในการพัฒนาความรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เพื่อเด็กจะได้สามารถเรียนรู้และค้นหาความรู้ จากประสาทสัมผัส เช่นการหยิบจับ สัมผัส ถือ ปริมาณของจำนวนใดจำนวนหนึ่ง เด็กสามารถซึมซับจำนวนได้จากการเห็นและนับจากปริมาณหรือขนาดของจำนวนแต่ละจำนวนมีความแตกต่างกันถ้าเรียนจากของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เด็กเข้าใจง่าย สนุกสนานและประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ อ้อ! แต่อย่าลืมวิธีการ 1. อดทน และเข้าใจ 2.ส่งเสริม 3. กระตุ้น และรางวัล 4.ทำซ้ำ สม่ำเสมอ นะคะ

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=7775 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 7775