การส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน โดยใช้นิทาน (SUPER TEACHER)
สร้างโดย ศพด.บ้านตองโขบ (จังหวัดสกลนคร)
ผู้จัดทำ นางสาวจิราภรณ์ โง่นทา
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Play and Learn) เป็นกลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ ค้นหา เทคนิคการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยโดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้วด้วยการใช้เทคนิควิธีการ บูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก และการเล่นให้เข้าด้วยกันทำให้เด็กได้เล่น แสดงออก ได้ร้องเพลง ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน อยากเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ เน้นการปฏิบัติ (Active Learning) ด้วยการแสดงออกโดยการเล่นภายใต้การดูแลช่วยเหลือของครู จัดเป็นกลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้โดยการค้นหา วิธีการจัดการเรียนรู้แยบยล ใช้เครื่องมือ รูปแบบ เทคนิค และวิธีการอยากหลากหลายที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยเฉพาะการจัดประสบการณ์การเล่านิทานที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก และเป็นการเล่นให้เข้าด้วยกัน ทำให้เด็กได้เล่น แสดงออก ได้ร้องเพลง ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน อยากเรียนรู้มากขึ้น การเล่นปนเรียนเป็นการเล่นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ภายใต้การอำนวยความสะดวก สนับสนุน ชี้แนะ ช่วยเหลือของครูในด้านต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้แบบเล่นปนเรียนเกิดประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุด ครูจึงบูรณาการสิ่งที่ต้องการให้เด็กได้เรียนรู้เข้ากับกิจกรรมการเล่านิทานของเด็ก ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ด้วยการแสดงออก การเล่นภายใต้การดูแลช่วยเหลือของครู ซึ่งเป็นวิธีการที่ครูนำเอาธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนการสอน การเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้สึกเพลิดเพลิน สนุกสนาน เป็นกิจกรรมที่ทำโดยไม่ต้องถูกบังคับ ดังนั้นการนำนิทานหรือการเล่าเรื่องราวต่างๆมาจัดการเรียนการสอน ผู้เล่าควรมีความเข้าใจในนิทานเรื่องนั้น และมีวิธีการเล่านิทานที่สร้างความสนใจหรือดึงดูดเด็กให้อยากฟัง ผู้เล่าควรใช้น้ำเสียงที่ชัดเจน มีลีลาและจินตนาการในการเล่านิทาน มีการใช้น้ำเสียงที่ดัง เสียงสูง-ต่ำ ขึ้นอยู่กับตัวละครในนิทานเรื่องนั้นว่าจะเป็นใคร เสียงแบบไหน ไม่เล่านิทานที่มีเนื้อหายาวมากเกินไป และควรเป็นนิทานที่เหมาะกับช่วงอายุของเด็กที่ฟัง แสดงบทบาท สีหน้า ท่าทาง ให้สอดคล้องกับตัวละคร ไม่ควรต้องคำถามระหว่างการเล่านิทาน แต่ควรสร้างข้อตกลงกับเด็กก่อนการเล่านิทานทุกครั้ง เนื้อหาของนิทานควรแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น ในขณะที่เด็กฟังนิทานเด็กจะเกิดจินตนาการ เกิดสมาธจดจ่อ รู้จักสังเกต และเลียนแบบสิ่งต่างๆที่เด็กได้สังเกต
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=7627 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 7627