“เสียงมหัศจรรย์” (SUPER TEACHER)
สร้างโดย ศพด.บ้านหนองแข้ (จังหวัดสกลนคร)
ผู้จัดทำ นางตุติญา เครือคำ
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
จากกระแสความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย รวดเร็วผนวกกับความเปลี่ยนแปลงในสังคมและสภาพแวดล้อมทำให้ผู้คนต้องการปรับตัว เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ได้ส่งผลต่อกระบวนการด้านการศึกษา ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม สะเต็มศึกษา(STEM) เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่ บูรณาการสาระวิชาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics) เข้าด้วยกันโดยจะเน้นให้ ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกัน โดยในการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้สะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัย สามารถจัดสอนโดยผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 4 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นการตั้งคำถาม ขั้นการสำรวจตรวจสอบ ขั้นตอบคำถามที่ตั้งขึ้น และขั้นนำเสนอ สามารถจัด ในรูปแบบหน่วยการเรียนรู้หรือโครงงานก็ได้ กิจกรรมสะเต็มดังกล่าวส่งเสริมให้ เด็กได้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา อีกตัวอย่างของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัยอีก ตัวอย่างหนึ่งได้แก่ การจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ในระดับปฐมวัย การเรียนรู้ “เสียงมหัศจรรย์” ว่าจากที่พาเด็กๆ ได้ลงมือทำกิจกรรมจริง ทำให้เด็กๆ สนุกสนาน มีความกระตือรือร้น ให้ความสนใจ กล้าแสดงออกมากขึ้น สามารถตั้งคำถามได้ว่าเสียงเกิดขึ้นมาได้อย่างไร สาเหตุของการเกิดเสียงมาจากไหน และแก้ปัญหาได้ รวมทั้งสามารถเรียนรู้ทักษะวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี สิ่งที่สำคัญของหลักในการเรียนรู้ สะเต็ม คือ ครูต้องตั้งคำถามให้เป็น กระตุ้นให้เด็กคิด ช่วยให้เด็กสนุก และเกิดเป็นความคิดรวบยอดให้เกิดการเรียนรู้ และครูต้องรู้จักการรอ รอให้เด็กสืบค้น สนับสนุนให้เด็กหาข้อมูลเกิดเป็นผลสัมฤทธิ์ จากการนำสะเต็มศึกษามาใช้ผ่านกิจกรรมการเล่น นอกจาก 4 ทักษะที่กล่าวมาแล้ว แต่สิ่งที่ได้และเป็นเรื่องที่เมืองไทยเราขาดมาก คือ การคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็กมาประยุกต์ใช้ได้จริง และทำให้เด็กเห็นคุณค่าของการเรียนจนนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งหากเด็กอนุบาลได้ศึกษาก็จะมีพื้นฐานเบื้องต้นใช้ได้ตลอดเวลาไปจนโต จะเห็นว่า สะเต็มศึกษาไม่จำเป็นต้องสอนเด็กเฉพาะที่โรงเรียนเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกฝนลูก ๆ ด้วยวิธีสะเต็มศึกษาด้วยการฝึกให้ลูกคิด หมั่นถามคำถามโดยไม่ปิดกั้นความคิด ฝึกให้ลูกกล้าแสดงออก และทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลองผิดลองถูก โดยมีคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้คอยชี้แนะ เพียงเท่านี้ก็เป็นการฝึกลูกตามแนว สะเต็มศึกษาในเบื้องต้นได้แล้วค่ะ มาช่วยกันพัฒนาเด็กไทย โดยเริ่มตั้งแต่ที่บ้านกันเลยค่ะ
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=7621 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 7621