มารยาทในการรับประทานอาหาร (Super Teacher)
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพนสูง (จังหวัดเลย)
ผู้จัดทำ นางสมวาน โสประดิษฐ
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
มารยาทในการรับประทานอาหาร มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความเลื่อมใส หรืออาจตำหนี ดังนั้น เราควรฝึกมารยาทในการรับประทานอาหารให้กับเด็กปฐมวัยให้ถูกต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพราะนอกจากจะรับประทานอาหารตามปกติในครอบครัวแล้ว เรายังใช้อาหารเป็นสื่อในการพบปะสังสรรค์ ดำเนินงานทางธุรกิจ หรือเข้าสังคมกับผู้อื่น การมีความรู้เกี่ยวกับมารยาทในการรับประทานอาหารตามหลักสากล จะช่วยให้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มารยาททั่วไปในการรับประทานอาหารควรจะปฏิบัติตนดังนี้ 1. ไม่ทำเสียงดังในขณะรับประทาน 2. อาหารแต่ละคำควรตักให้เล็ก และไม่เลือกเฉพาะอาหารที่ชอบ 3. ไม่ควรตำหนิรสชาติของอาหาร ควรรับประทานอาหารทุกชนิดที่วางอยู่บนโต๊ะอาหาร 4. ไม่ควรบังคับให้แขกรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินควร 5. ควรเลือกเรื่องที่จะนำมาสนทนากับผู้รับประทานอาหารทุกครั้ง ไม่ควรตำหนิหรือว่ากล่าวสมาชิกในครอบครัวขณะรับประทานอาหาร 6. ควรนั่งตัวตรง ไม่นำแขนขึ้นมาวางบนโต๊ะ และไม่ก้มศีรษะลงไปรับประทานอาหารจากจานเข้าปาก 7. ไม่กระดิกเท้า หรือเคาะโต๊ะเป็นการทำความรำคาญให้แก่ผู้อื่น 8. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง 9. ถ้ามีอาหารมาเสิร์ฟในชามที่มีฝาปิด ให้เปิดฝาลงไว้ในจาน ถ้าอุปกรณ์ใดที่ใช้ไม่เป็น ให้สังเกตผู้ที่นั่งด้านข้างแล้วทำตาม 10. ไม่รับประทานอาหารมูมมาม หรือทำอาหารหกเลอะเทอ ฝึกให้เด็กล้างมือก่อน และหลังการรับประทานอาหาร เมื่อทานอาหารอิ่มแล้วสอนให้เด็กเก็บภาชนะของตัวเอง ช่วยเก็บโต๊ะ สอนให้เด็กรู้จักแปรงฟันหลังทานอาหารเสร็จแล้ว เพื่อปลูกฝังเรื่องการรักษาความสะอาด วิธีเหล่านี้ จะช่วยฝึกวินัยในการรับประทานอาหารบนโต๊ะอาหารให้กับเด็ก และจะติดนิสัยไปจนโต เป็นการช่วยให้เด็กมีระเบียบวินัยติดนิสัยไปจนโต เป็นการช่วยให้เด็กมีระเบียบวินัยอีกวิธีหนึ่ง
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=7522 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 7522