กิจกรรมการเล่านิทาน (Super Teacher)
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้าน หางนา - นาหิน (จังหวัดเลย)
ผู้จัดทำ นางหนูนิตย เนธิบุตร
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีทักษะในการหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
เด็กในช่วงปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบเป็นวัยที่ต้องการให้เด็กและการเล่น การทำให้เด็กกล้าแสดงออก จึงนำนิทานมาเป็นสื่อที่มีคุณค่าต่อเด็ก การเล่านิทานเป็น การสร้างจินตนาการให้เกิดการเรียนรู้กับเด็ก และยังสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ทั้งยังให้เด็กกล้าแสดงออกมีความมั่นใจในตนเอง นิทานยังส่งเสริมทักษะด้านภาษา การฟัง การพูด การอ่าน เทคนิคในการเล่านิทานจะต้องใช้น้ำเสียง สูง ต่ำ ที่แสดงอารมณ์ของเนื้อเรื่องที่จะเล่า กระทั้งเกิดการเร้าใจ และเรียนรู้อย่างง่ายๆ การเล่านิทานต้องออกเสียง ให้ชัดเจน อาจมีการเตรียมท่าทางที่เหมาะสมตามบุคลิกของตัวละครในเนื้อเรื่อง ผู้เล่าอาจใช้มือ แขน หู ตา หน้าหัวเป็นส่วนประกอบในการเล่า หรืออาจใช้สื่อ เนื้อเพลง มาประกอบในการเล่านิทาน เด็กจะสนุกสนาน เพลิดเพลิน และมีความสุข การเล่านิทานจึงส่งเสริมต่อพัฒนาการ จินตนาการความคิดสร้างสรรค์และความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น เด็กวัยนี้ชอบเล่นบทบาทสมมุติและมีการเรียนรู้ผ่านการเล่น ทั้งกับผู้ใหญ่คือ พ่อ แม่ตลอดจนผู้ใกล้ชิด การเล่านิทานจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างเด็กและผู้ใหญ่และเสริมจินตนาการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และฝึกให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น การเล่านิทานเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่นักวิจัยให้ความสนใจและ ยอมรับว่ามี ความสำคัญต่อเด็กเพราะการฟังนิทานสำหรับเด็กนอกจากจะช่วยให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินและ มีคติสอนใจแล้ว การฟัง นิทานยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา เพราะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสฝึกทักษะการ ฟัง การพูด และการอ่านในด้านพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม นิทานช่วยให้เด็กกล้าแสดงออก สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ฟังและผู้เล่า ตลอดจนช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาและร่างกาย นิทานยังช่วยให้เด็กได้ฝึกคิดพิจารณา เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และหากว่าเด็กได้เป็นผู้เล่านิทาน ดังนั้นการที่เด็กได้หยิบจับหนังสื่อหรือแสดงท่าทางประกอบ ตามลักษณะของตัวละครในนิทานเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของเด็กให้แข็งแรงขึ้นดังนั้นการเล่านิทานให้เด็กฟังเสมอๆ จึงเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดพัฒนาการที่ดีตามวัยของเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=7487 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 7487