การส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ใครก็ทำได้(Super Teacher)

สร้างโดย ศพด. ตำบลคำบง (จังหวัดอุดรธานี)

ผู้จัดทำ ปิยะนุช จำปาทอง

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ



             การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัยหมาย ถึงการจัด สภาพการณ์ในชีวิตประจําวันของเด็ก เป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรูปเป็นอย่างดีประกอบด้วยกิจกรรมที่ เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้าแก้ปัญหาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และความคิดรวบยอดที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการเด็กแต่ละวัยจะมี ความสามารถเฉพาะเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงบรรยากาศการเรียนต้อง ไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียนเห็นความสัมพันธ์ของ คณิตศาสตร์ในธรรมชาติบ้านโรงเรียนกิจกรรมสอดคล้องกับ ชีวิตประจําวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้นและความคิดนรวบยอดได้ดีขึ้น คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นพื้นฐาน ในการพัฒนาความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ อีกทั้งยังต้องอาศัยกิจกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กโดยเฉพาะ โดยอาศัยการวางแผนและการเตรียมการอย่างดีจากครู เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิด การค้นคว้า แก้ปัญหาและการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัย ความสามารถในการเรียนรู้และแก้ปัญหาจะขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการเด็กเป็นสำคัญ คณิตศาสตร์มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของเด็กเป็นอย่างมาก เช่น การดูนาฬิกา การดูวันจากปฏิทิน การซื้อของ การนับเงิน ตลอดจนการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบสิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น ควรปลูกฝังคณิตศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่แรกเริ่ม เด็กที่เรียนคณิตศาสตร์เก่งจะประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิต เช่น ทำให้เป็นคนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น การดำรงชีวิตก็มีประสิทธิภาพ สามารถใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผน และดำเนินงานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสำคัญที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์คือ เด็กจะต้องมีวุฒิภาวะ มีโอกาสได้จัดกิจกรรมที่ได้ลงมือกระทำ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้เด็กนั้นผู้ปกครองต้องอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและต้องอาศัยการวางแผนและเตรียมการให้ดี เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องจำนวน การนับตัวเลข ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นไป การที่เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้แบบเข้าใจง่ายผู้ปกครองต้องใช้สื่อที่เป็นทั้งรูปธรรมและตัวของจริงให้เด็กนับจับคู่ตัวเลขโดยให้เด็กทำบ่อย ๆ จนเกิดความแม่นยำจะจดจำได้นาน ซึ่งผู้ปกครองทำเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ผู้ปกครองสามารถใช้บัตรภาพจำนวนพร้อมมีตัวเลขกำกับ ใช้วิธีเดิม คือติดตามฝาผนัง ขั้นบันได เมื่อเวลาเด็กก้าวขึ้น-ลง ซึ่งเรื่องพวกนี้สามารถอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กมาเป็น พื้นฐานในการพัฒนาความรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เพื่อเด็กจะได้สามารถเรียนรู้และค้นหาความรู้ จากประสาทสัมผัส เช่นการหยิบจับ สัมผัส ถือ ปริมาณของจำนวนใดจำนวนหนึ่ง เด็กสามารถซึมซับจำนวนได้จากการเห็นและนับจากปริมาณหรือขนาดของจำนวนแต่ละจำนวนมีความแตกต่างกันถ้าเรียนจากของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เด็กเข้าใจง่าย สนุกสนานและประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ และสิ่งที่ผู้ปกครองควรระลึกอยู่เสมอคือ 1. อดทน และเข้าใจ

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=7476 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 7476