ส่งยิ้มทั่วไทยให้ครูเล่าเรื่อง play@Learn กิจกรรมเกมการศึกษา (Super Teacher)
สร้างโดย ศพด.วัดศิลาพัฒนาราม (จังหวัดหนองบัวลำภู)
ผู้จัดทำ นางสาวพัชรี พิมพ์ภาคำ
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
เกมการศึกษาเป็นสื่อการเรียนรู้และกิจกรรมหลักตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาเด็กให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และเน้นทางด้านสติปัญญาหรือการคิดให้แก่เด็ก เกมการศึกษามีหลายประเภท มีรูปแบบและวิธีเล่นแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมความคิดให้แก่เด็กคือ การเล่นเกมการศึกษาควรมีคำถามกระตุ้นให้เด็กได้คิดด้วย เพราะตามธรรมชาติของเด็กมีความสงสัยใคร่รู้อยู่เสมอ และเมื่อเด็กได้รับการกระตุ้นด้วยคำถามซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่ดีชวนให้เด็กสงสัย จูงใจให้เด็กเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพทางความคิดที่เด็กมีอยู่ในตัว ตนให้ก้าวขึ้นสู่ขีดสูงสุด และเมื่อผู้ใหญ่เข้าใจธรรมชาติของเด็กได้ให้การสนับสนุนเด็กหรือตอบ สนองเด็กด้วยความเต็มใจที่จะตอบแก่เด็ก เด็กก็เกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ โดยปกติแล้วเด็กปฐม วัยจะช่างสังเกตและสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่แวดล้อมตัวเอง เมื่อจัดอุปกรณ์หรือสิ่งเร้ามาให้เด็กพัฒนา การสังเกต โดยใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ทุกด้าน เด็กจะพัฒนาการคิดได้อย่างดี เกมการศึกษาเป็นสิ่งเร้าที่ดี เป็นสื่อและกิจกรรมที่เด็กสังเกตเห็นได้อย่างเด่นชัด เปรียบเทียบหาความแตกต่างของสิ่ง ของหรือหารายละเอียดบางอย่างในภาพขณะเดียวกันมีคำถามชวนให้เด็กสังเกตมากขึ้น ได้คิด จะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาเป็นผู้ใฝ่รู้และหาความจริงจากสิ่งที่เห็น หรือได้คิด ช่วยเกมจับคู่ เช่น • จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน • จับคู่ภาพกับเงา • จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก • จับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน สิ่งที่ใช้คู่กัน • จับคู่ภาพส่วนเต็มกับส่วนย่อย • จับคู่ภาพกับโครงร่าง • จับคู่ภาพกับชิ้นส่วนที่หายไป • จับคู่ภาพที่เป็นประเภทเดียวกัน • จับคู่ภาพที่ซ้อนกัน • จับคู่ภาพสัมพันธ์แบบตรงกันข้าม • จับคู่ภาพที่สมมาตรกัน • จับคู่แบบอุปมาอุปไมย • จับคู่แบบอนุกรม ให้เด็กกล้าแสดงออก เรียนรู้ที่ฟังผู้อื่นได้ต่อไป
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=7432 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 7432