การส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
สร้างโดย โรงเรียนวัดบึงไม้ (จังหวัดสระบุรี)
ผู้จัดทำ นางนงค์ลักษณ์ วงษ์กวน
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
พัฒนาการด้านสังคมหมายถึง การพัฒนาความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อการดำราชีวิตที่เป็นปกติสุข การพัฒนาทางสังคมของคนเราเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น สามารถสร้างสังคมได้โดยอาศัยการอบรมเลี้ยงดูที่ถูกต้องตามวัยพัฒนาการด้านสังคมวัยก่อนอนุบาลสำคัญ การพัฒนาการทางสังคมช่วยให้คนเราได้เรียนรู้และเข้าใจตนเองและผู้อื่นเพื่อการปรับตัว และสร้างสังคมที่จะอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข พัฒนาการด้านสังคมของทารกเมื่อแรกเกิดจะต้องดูดนมแม่ให้ได้เพื่อบรรเทาความหิวและช่วยให้ทารกจึงเรียนรู้ว่า ในโลกนี้มีคนอื่นอยู่ด้วยและช่วยตอบสนองความต้องการของเขาได้ ซึ่งการเรียนรู้นี้เป็นกระบวนการปรับตัวทางสังคม (Socialization process) จากการที่ทารกได้สัมผัสใกล้ชิดแม่ และคนในครอบครัว ทารกจึงพัฒนาไปสู่การรู้จักเพื่อนและคนอื่น ได้ใช้ภาษา ได้เล่น ได้แสดงความรู้สึก ได้เรียนรู้ข้อตกลง กฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคมตามวัยแต่ละช่วงอายุ พัฒนาการทางสังคมจึงมีความสำคัญดังนี้ ช่วยให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ เช่น การกิน การหัดพูด การเดิน การหัดขับถ่ายในกระโถนหรือส้วม การล้างทำความสะอาดอวัยวะขับถ่าย การหัดสวมรองเท้าเอง เป็นต้น เกิดการเรียนรู้ทางสังคม เพราะคนเราจะอยู่กันเป็นสังคม เด็กจะพัฒนามาตั้งแต่แรกเกิด รู้จักพ่อแม่ที่เป็นบุคคลใกล้ชิดที่สุด แล้วขยายมารู้จักบุคคลอื่นในครอบครัว เพื่อน ครูตามลำดับ ช่วยให้เขาเรียนรู้ที่จะเข้าใจคนอื่นและการปฏิบัติต่อกัน ดังทฤษฏีการเรียนรู้ทางสังคมของ Albert Bandura ที่กล่าวว่า เด็กจะเลียนแบบบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเป็นการเรียนรู้ทางสังคมของเด็ก การพัฒนาทางสังคมมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาจิตใจของความเป็นมนุษย์ เมื่อเด็กเรียนรู้ว่าจะต้องอยู่กับผู้อื่นในโลกนี้ แต่เขาก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างมีความสุขในสังคมที่ดีด้วย คือ มีจริยธรรมเป็นหลักชีวิต ดังปรากฏในมงคลชีวิตซึ่งธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า การที่อยู่ด้วยความสุขจะต้องฝึกเป็นผู้เสียสละ ผู้ให้ หรือผู้มีความเอื้อเฟื้อซึ่งเป็นพื้นฐานความดีของมนุษย์ชาติ และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการจรรโลงสันติสุข การฝึกให้จะช่วยลดการเป็นศูนย์กลางของตนเองลงและพัฒนาจิตใจให้สูงตามลำดับวัยของเด็ก เด็กจะค่อยลดอัตตาจากตนเองเป็นศูนย์กลางไปสู่สังคมแวดล้อมภายนอก เมื่อเขาค่อยเจริญวัยและได้รับสัมผัส การเลี้ยงดูที่ดีจากพ่อแม่ โดยเฉพาะช่วงวัยแรกเกิดหรือวัยทารก ซึ่ง Erik H. Erikson นักจิตวิทยา กล่าวว่าเป็นช่วงที่เด็กจะรู้สึกเชื่อมั่น (The Sense of Trust) เป็นระยะที่เด็กรู้สึกสบายและเมื่อได้รับความรักจากแม่ เด็กจะพัฒนาความไว้วางใจผู้อื่น แต่ถ้าไม่ได้รับการตอบสนองเด็กจะรู้สึกกลัว ขาดความไว้ใจผู้อื่น มีการพัฒนาทางภาษาเพื่อใช้สื่อสารทางสังคม การพูดและการสนทนาของพ่อแม่ ทำให้เด็กได้ยินเสียง และเรียนรู้ที่จะใช้ภาษา
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=7134 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 7134