คณิตวิทย์สร้างสรรค์

สร้างโดย โรงเรียนเทศบาล ๕ วสุนธราภิวัฒก์ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)

ผู้จัดทำ นางนภสร ภักดีไทย

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ



             การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ให้เด็กปฐมวัย เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Active Learning) ซึ่งใช้การบูรณาการสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ไทยแลนด์ยุค 4.0 อย่างรอบด้าน จึงได้พัฒนาการสอน STEM สู่ STEM Approach มีลักษณะการจัด การเรียนรู้ 5 ประการได้แก่ (1) จัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการ (2) เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำ อาชีพ (3) พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 (4) จัดกิจกรรมให้ท้าทายความคิดของเด็กปฐมวัย (5) เปิดโอกาสให้ เด็กได้สืบค้น นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหา เป็นการสร้างประสบการณ์ ผ่านการเล่นและการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม การสืบค้น การรวบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ และเด็กต้องการโอกาสนำเสนอผลงานที่ผ่านการคิดที่เหมาะสมกับระดับ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัยผ่านการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (ActiveLearning) มี ความสำคัญต่อการพัฒนาสำหรับเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆดังนี้ 1. พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ทักษะการคิด ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการใช้เทคโนโลยีและทักษะทางสังคม 2. ส่งเสริมการทำกิจกรรมแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ด้วยตนเองในหัวข้อเรื่องที่เรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อ พัฒนากำลังคนของประเทศตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย 3. กระบวนการเรียนรู้เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เป็นหัวข้อเรื่องในชีวิตจริงของเด็ก สอดคล้องกับปรัชญา และแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยตั้งคำถาม สืบค้นโดยใช้ ความสามารถในการสังเกต ช่วยเด็กคิดเกี่ยวกับกระบวนการในการทำงานของตน 4. ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด การจัดกิจกรรมเป็นการทำงานแบบร่วมมือผ่านลักษณะกิจกรรมที่หลากหลาย ฝึกความมีวินัยและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในกระบวนการทำงานแบบร่วมมือ 5. จัดบรรยากาศในชั้นเรียนส่งเสริมการกล้าแสดงออก การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 6. ส่งเสริมให้เด็กรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ กิจกรรมที่นำไปประยุกต์ใช้กับเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1กิจกรรมที่2 แก้วนำ้กระดาษทำให้มีเสียงต่างๆได้ วิธีการคือ นำแก้วนำ้มาเจาะรูที่ก้นแล้วนำเชือกมาร้อยโดยใช้คลิปหนีบกระดาษเอาไว้ก้นรูของแก้วเพื่อให้เชือกสามารถดึงแล้วเชือกไม่หลุดออกมา แล้วจึงนำเชือกไปจุ่มน้ำเพื่อให้เปียกทำให้เกิดเป็นเสียงต่างๆ เสียงที่แตกต่างขึ้นอยู่กับลักษณะการเปียกของและการหงายแก้วหรือคว่ำแก้วหรือการดึงของเชือกด้วย เด็กนักเรียนบอกว่าเป็นเสียงไก่ขัน เสียงแมวร้อง เสียงกบ แล้วแต่ตามจินตนาการว่าจะเป็นเสียงอะไร เป็นกิจกรรมที่เด็กนักเรียนให้ความสนใจ มีความสุขและมีความสนุกสนานมากๆ กับกิจกรรมนี้เป็นอย่างมาก

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=6936 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 6936