play&Lean เพลินไปกับประกันคุณภาพการศึกษา

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกระต่ายเต้น (จังหวัดกาญจนบุรี)

ผู้จัดทำ ศิราณี จันทร์บุตร

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



             การปั้นช่วยพัฒนาทักษะทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านกายภาพ เช่น กล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งในส่วนนี้ เด็กยุคใหม่จะเริ่มมีปัญหากันมาก เพราะเล่นแต่เกมคอมพิวเตอร์ และคลิกเมาส์อย่างเดียว ส่งผลให้จับปากกาไม่ได้ เพราะกล้ามเนื้อมัดเล็กไม่แข็งแรง ส่วนด้านที่ 2 คือเรื่องของ อารมณ์ งานปั้นแป้งโดว์จะช่วยฝึกสมาธิ ทำให้เด็กซน สามารถนั่ง และจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำได้นานขึ้น นอกจากนี้ ยังจะช่วยในเรื่องของมิติสัมพันธ์ ทำให้เด็ก สามารถมองภาพที่เป็น 3 มิติ ได้ดีขึ้น ประโยชน์ของการปั้น • พัฒนากล้ามเนื้อมือกล้ามเนื้อมัดเล็ก มือและนิ้วมือ ในการนวด นวด คลึง และปั้น • พัฒนากล้ามเนื้อมือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ แขนหยิบจับเล่น • พัฒนาประสาทสัมพันธ์ สอดคล้องระหว่างตากับมือ ระหว่างที่ปั้น • พัฒนาทักษะทางด้านภาษาในการอธิบายผลงานของตนเอง • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ • ฝึกสมาธิทำให้เด็กจดจ่อกับงานที่ทำได้นานมากขึ้น • ผ่อนคลายอารมณ์เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินขณะทำกิจกรรม • เสริมสร้างความภูมิใจในตัวเอง พึงพอใจในผลงานของตน • พัฒนาการทางด้านสังคม โดยเด็กสามารถเล่นร่วมกับเพื่อน พี่น้อง คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง และญาติผู้ใหญ่ได้ • ฝึกนิสัยการเก็บของเล่นให้เป็นที่ การรักษาของ เพราะหลังจากเล่นเสร็จแล้วต้องเก็บแป้งโดว์ให้มิดชิด และดูแลแป้งโดว์ให้มีอายุนานขึ้นเพื่อที่จะนำมาเล่นได้อีกในครั้งต่อไป พัฒนาการเด็กในการปั้น 1-2 ปี : หยิบ ขยำ กด ทุบให้แผ่ออก มีลักษณะการใช้มือแบบกำทั้ง 5 นิ้ว 2-3 ปี : ดึงดินน้ำมัน ฯลฯ ออกจากกันเป็นก้อนๆ มีลักษณะการกำหรือใช้นิ้ว และตัดด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ได้ 3-4 ปี : ปั้นดินน้ำมัน ฯลฯ และคลึงเป็นเส้นยาว คลึงเป็นลูกบอล และกดเป็นแผ่นแบนกลมด้วยฝ่ามือ 4-5 ปี : ปั้นดินน้ำมัน ฯลฯ เป็นรูปร่าง ที่เด็กอาจจะเข้าใจความหมายได้คนเดียว 5 ปีขึ้นไป : ปั้นดินน้ำมัน ฯลฯ เป็นรูปร่างที่มีรายละเอียด ผู้อื่นเข้าใจความได้ มีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ช่วยในการปั้น

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=6661 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 6661