Play & Learn เพลินไปกับประกันคุณภาพการศึกษา

สร้างโดย ร.ร.อนุบาลอบต.ทุ่งมะพร้าว (จังหวัดพังงา)

ผู้จัดทำ นางจิราวรรณ ตัณฑวิบูลย์

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีจำนวนผู้เรียนและอายุตามเกณฑ์



            การใช้กิจกรรม one song hit เทคนิคการเล่านิทานที่เน้นกระบวนการคิดแบบเชื่อมโยง เด็กแต่ละคนจะมีความชอบที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 5-6 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้ 1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ • การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ • เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก • การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น • อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก • ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น • ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น 2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้,ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง เด็กจะได้รับประโยชน์อะไรจากการฟังนิทาน? การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย การเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเล่านิทาน จะช่วยให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายซึ่งเป็นการพัฒนาทางด้านกล้ามเนื้อใหญ่ เช่น การเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติเรื่อง ลูกหมูสามตัว หนูน้อยหมวกแดง นอกจากนี้ ขณะที่เล่านิทานด้วยการใช้หนังสือภาพประกอบ การที่พ่อแม่ใช้นิ้วชี้ไปที่ภาพหรือตัวหนังสือในนิทานทำให้เด็กได้มองตาม เป็นการฝึกฝนการใช้ประสาทสัมพันธ์ทางด้านสายตาของเด็กได้อีกด้วย

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=6658 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 6658