เรื่องPlay & Learn เพลินไปกับประกันคุณภาพการศึกษา ONE SONG HIT เทคนิคการเล่านิทานที่เน้นกระบวนการคิดแบบเชื่อมโยง
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโรงวัว (จังหวัดชัยนาท)
ผู้จัดทำ นางสุชาดา คลังมี
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Play and Learn) หมายถึง วิธีการจัดกิจกรรม ให้กับเด็กปฐมวัยโดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้ว ด้วยการใช้เทคนิควิธีการบูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก และการเล่นให้เข้าด้วยกัน ทำให้เด็กได้เล่น แสดงออก ได้ร้องเพลง ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน อยากเรียนรู้มากขึ้น การเล่นปนเรียนเป็นการเล่นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา กิจกรรม Play & Learn เพลินไปกับการประกันคุณภาพการศึกษา สามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่าง มีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย โดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่น ด้วยการใช้เทคนิควิธีการ บูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก และการเล่นเข้าด้วยกัน ทำให้เด็กได้เล่น แสดงออก ได้ร้องเพลง ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน อยากเรียนรู้มากขึ้น เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ เน้นการปฏิบัติ ( Active Learning ) ด้วยการแสดงออก โดยการเล่นภายใต้การดูแลช่วยเหลือของครู เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นเรียนและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ผู้เรียนเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการออกแแบการเรียนการสอน ดังนั้นความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของผู้เรียนในด้านต่างๆจึงส่งผลต่อการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพสำหรับเด็กปฐมวัย จึงเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทั้ง 4 ด้านโดยเฉพาะการเล่านิทานหรือเรื่องราวต่างๆเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและการขึ้นเรื่องที่จะเล่าควรดึงดูดความสนใจโดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงที่ชัดเจนลีลาของการเล่านำ้เสียงที่ใช้ควรดังและประโยคสั้นๆได้ใจความและการใช้นำ้เสียงสีหน้าท่าทางแสดงให้สอดคล้องกับตัวละครไม่ควรพูดเอื่อยๆเพราะทำให้ขาดความตื่นเต้นและไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานนานจะทำให้เด็กเบื่ออีกทั้งไม่ควรมีคำถามหรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะจะทำให้เด็กหมดสนุก ใช้ในการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟังการพูดการอ่านและการเขียนและเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้แก่เด็กใช้ในการฝึกฝนให้เด็กรู้จักแสดงออกมีความกล้าและมั่นใจในการแสดงท่าทางประกอบการแสดง การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจในขณะที่เด็กฟังนิทานเด็กจะมีความสนุกสนานเพลิดเพลินทำให้เด็กมีความสงบสุขุมและเยือกเย็นทำให้มีสมาธิทำให้เกิดการคิดสังเกตและจินตนาการมีความกล้าแสดงออกซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาการทางอารมณ์ โดยผ่านการแสดงออกจากการเล่านิทาน
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=6564 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 6564