ประเมินพัฒนาการ 5 ด้านของเด็กปฐมวัย (DSPM)

สร้างโดย บ้านทุ่งกลม (จังหวัดชลบุรี)

ผู้จัดทำ นางสาวจีระภา บุญมะยา

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย/แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้



            โรงเรียนบ้านทุ่งกลมให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและพัฒนาเด็กให้พร้อมต่อการเรียนรู้ในทุกด้าน ดังนั้นจึงมีการประเมินพัฒนาการทั้ง 5 ด้านของเด็กในช่วงอายุ 4 ปี 7 เดือน - 5 ปี ด้านที่ 1 พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว Gross motor (GM) ทักษะที่ประเมิน คือ เดินต่อส้นเท้า วิธีการประเมิน ก้าวเดินให้ส้นเท้าข้างหนึ่งไปต่อชิดกับปลายเท้าอีกข้างหนึ่งให้เด็กดูและบอกให้เด็กทำตาม ถ้าเด็กสามารถเดินโดยส้นเท้าต่อกับปลายเท้าได้ 4 ก้าว โดยไม่เสียการทรงตัวถือว่า ผ่าน ด้านที่ 2 พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา Fine motor (FM) ทักษะที่ประเมิน คือ จับดินสอได้ถูกต้อง อุปกรณ์ที่ใช้ คือ ดินสอและกระดาษ วิธีการประเมิน ยื่นกระดาษและดินสอให้เด็ก และบอกว่า "หนูลองใช้ดินสอเขียนดูนะ" ถ้าเด็กสามารถจับดินสอ โดยจับสูงกว่าปลายประมาณ 1-2 ซม. และดินสออยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ถือว่า ผ่าน ด้านที่ 3 พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา Receptive Language (RL) ทักษะที่ประเมิน คือ เลือกสีได้ 8 สี ตามคำสั่ง อุปกรณ์ สีเทียน 10 สี แทนก้อนไม้ ทั้งนี้อาจใช้สิ่งของในบ้านที่มีสีสันต่างๆ เช่น ดอกไม้ เสื้อผ้า วิธีการประเมิน วางสีเทียน 10 แท่ง ตรงหน้าเด็ก แล้วบอกเด็กว่า "หยิบสีเทียนสีฟ้า" ผู้ประเมินนำสีเทียนที่เด็กหยิบกลับไปวางไว้ที่เดิม บอกให้เด็กหยิบสีอื่นๆ จนครบ 8 สี ถ้าเด็กสามารถหยิบสีได้ถูกต้อง 8 สี ตามคำสั่งแต่ละครั้ง ถือว่า ผ่าน ด้านที่ 4 พัฒนาการด้านการใช้ภาษา Express Language (EL) ทักษะที่ประเมิน คือ ผลัดกันพูดคุยกับเพื่อนในกลุ่ม วิธีการประเมิน โดยถามจากพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กว่า "เด็กสามารถพูดคุยกับเพื่อโดยผลัดกันได้หรือไม่" ถ้าเด็กสามารถผลัดกันพูดโต้ตอบในกลุ่มได้ ถือว่า ผ่าน ด้านที่ 5 พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม Personal and Social (PS) ทักษะที่ประเมิน คือ เล่นเลียนแบบบทบาทของผู้ใหญ่ได้ วิธีการประเมิน โดยถามจากพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กว่า "เด็กเคยเล่นเลียนแบบบทบาทอาชีพของผู้ใหญ่โดยเล่นกับเพื่อนได้หรือไม่" ถ้าเด็กสามารถเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ได้อย่างน้อย 1 บทบาท เช่น พ่อ แม่ ครู แพทย์ พยาบาล หัวหน้ากลุ่ม โดยเลียนแบบผ่านทางน้ำเสียง ท่าทางการแต่งตัวกับเพื่อนได้

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=6314 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 6314