การออกแบบการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัยตามแนวPLC
สร้างโดย บ้านวังลึก (จังหวัดแพร่)
ผู้จัดทำ ร่สมจิตร อุ่นแก้ง
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
การออกแบบการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัยตามแนวPLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) “ศาสตร์พระราชา” เป็นปัจจัยความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประกอบด้วย ภูมิสังคม ระเบิดจากข้างใน การมีส่วนรวม ประโยชน์ส่วนรวม องค์รวม ทำตามลำดับขึ้น ไม่ติดตำรา ประหยัดเรียนง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ➡️ PLC หมายถึง การรวมตัว ร่วมใจ ร่วมพลัง ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานวัฒนธรรมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญ และความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนย้ำ PLC เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ไม่ใช่ หัวเรื่องในการสอน ➡️ วัตถุประสงค์ของ PLC 1. เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อให้เกิดการร่วมมือ รวมพลังของทุกฝ่ายในการพัฒนาการเรียนการสอนสู่คุณภาพของผู้เรียน 3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาผู้เรียน PLC ถือว่าทุกคนคือคนเชี่ยวชาญในงานนั้น จึงเรียนรู้ร่วมกันได้ ➡️ ความเชื่อของ PLC 1. ยอมรับว่าการสอนและการปฏิบัติงานของครู มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน 2. ยอมรับหลักการที่ว่า การเรียนรู้ของครู คือการเรียนรู้ของผู้เรียน 3. ยอมรับว่า ครูมีความแตกต่างกัน 4. ยอมรับว่า การสอนบางครั้งต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ และสัมพันธภาพแบบกัลยาณมิตร ➡️ องค์ประกอบสำคัญของ PLC 1. ต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน หมายถึง มีเป้าหมาย ทิศทางเดียวกัน มุ่งสู่การพัฒนาการเรียน การสอน สู่คุณภาพผู้เรียน 2. ร่วมแรง ร่วมใจ และร่วมมือ หมายถึง ต้องเปิดใจ รับฟัง เสนอวิธีการ นำสู่การปฏิบัติและประเมินร่วมกัน Open เปิดใจรับและให้ care และ Share 3. ภาวะผู้นำร่วม หมายถึง การทำPLC ต้องมีผู้นำและผู้ตามในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4. กัลยาณมิตร หมายถึง เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพ เติมเต็มส่วนที่ขาดของแต่ละคน 5. ต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ต้องเน้นการทำงานที่เปิดโอกาสการทำงาน ที่ช่วยเหลือกันมากกว่าการสั่งการ มีชั่วโมงพูดคุย 6. การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ หมายถึง การเรียนรู้การปฏิบัติงานและตรงกับภาระงาน คือ การสอน สู่คุณภาพผู้เรียน ➡️ PLC มีวิธีการทำงาน (กระบวนการ) 1. ต้องมีการรวมกลุ่ม และกลุ่มนั้นต้องมีลักษณะคล้ายๆกัน เช่น 1.1 จัดกลุ่มครูที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน - กลุ่มครูที่สอนวิชา/กลุ่มสาระเดียวกันในระดับชั้นเดียวกัน - กลุ่มครูที่สอนวิชา/กลุ่มสาระเดียวกันในช่วงชั้นเดียวกัน - กลุ่มครูตามลักษณะงาน 1.2 จำนวนสมาชิก 6-8 คน (ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ หมุนเวียนเข้าร่วม ทุกกลุ่ม) 1.3 ระยะเวลา 2-3 ชม.ต่อสัปดาห์ ตลอดหนึ่งปีการศึกษา กำหนดเป็นชั่วโมงชัดเจนจะดีมาก 1.4 จัดชั่วโมงอยู่ในภาระการสอนของครู/ภาระงาน เพื่อไม่ให้ครูถือว่าเป็นภาระเพิ่มขึ้น 1.5. การจัด PLC โดยใช้ ICT ในการเข้ากลุ่มระหว่างการดำเนินการ 2. บทบาทของบุคคลในการทำ PLC 2.1 ผู้อำนวยความสะดวก - รักษาระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิก - ควบคุมประเด็นการพูดคุย - ยั่วยุให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น 2.2 สมาชิก - เปิดใจรับฟัง และเสนอความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ - รับแนวทางไปปฏิบัติและนำผลมาเสนอ พร้อมต่อยอด 2.3 ผู้บันทึก สรุปประเด็นการสนทนาและแนวทางแก้ปัญหา พร้อมบันทึก Logbook 3. กลุ่มร่วมกันคิด “ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน”หาปัญหาสำคัญที่สุด สิ่งที่ต้องระวัง คือ การไม่ช่วยกันค้นหาปัญหาที่แท้จริง ผลักปัญหาออกจากตัว 4. หาสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา จากนั้นกลุ่มอภิปรายหาสาเหตุที่แท้จริง เน้นไปที่การสอนของครูเป็นอันดับแรก ที่ถือว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริง เช่น นักเรียนอ่านไม่ออก เป็นปัญหาสำคัญร่วมกัน ไม่ใช่สาเหตุว่า พ่อแม่แยกทาง 5. หาแนวทางแก้ไข “ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน”ที่สำคัญนั้น จะแก้ไขอย่างไรดูสาเหตุของปัญหาแนวทางแก้ปัญหาอาจใช้ประสบการณ์ของครูที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ผู้ทรงคุณวุฒิ งานวิจัย หรือแหล่งอื่นๆ ที่มีการเสนอแนวทางไว้แล้ว จากนั้นสรุปแนวทางการแก้ปัญหาสำคัญ 1 เรื่องหรือ 2 เรื่องตามสภาพของโรงเรียน 6. นำแนวทางที่สรุปเพื่อนำไปแก้ไขปัญหามาช่วยกันสร้างงาน สร้างแผนงาน เลือกการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) โดยมีสิ่งที่ต้องทำต่อ คือทำอย่างไร ทำเมื่อไร ใช้อย่างไร และตรวจสอบการทำงานอย่างไร จะเสนอผลระหว่างทำงานและสรุปผลเมื่อไร 7. นำแผนที่ร่วมกันคิดไปใช้ตามกำหนดการทำงาน ต้องนำไปใช้อย่างจริงจัง และกล้าเสนอผลจะสำเร็จหรือไม่ก็ตามและพร้อมจะนำไปปรับปรุง ต้องนำผลมาเสนอตามช่วงเวลา ผลงานที่อาจนำเสนอกันในช่องทาง Line หรือ Facebook หรือรูปแบบอื่นๆ 8. นำผลมาสรุปสุดท้ายว่าผลเป็นประการใด ร่วมกันสะท้อนผล และปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ถ้าผลการทดลองเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ก็เผยแพร่หรือปรับปรุงให้ยิ่งขึ้น ผลไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ก็ปรับปรุงทดลองใหมาสิ่งสำเร็จ คือ นวัตกรรม ที่สำคัญ คือ การทำงานตั้งแต่ขั้นแรกถึงขั้นสุดท้าย ต้องมีการบันทึก (Logbook) ออกแบบเอง ง่าย สั้นหนึ่งหน้าก็พอ อาจนำเสนอทาง Line หรือ Facebook หรือรูปแบบอื่นๆ สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมและระยะเวลา ดังนี้ 3. เป้าหมาย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 15 คน ด้านปริมาณ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 15 คน ด้านคุณภาพ 1. ครูมีความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ หมั่นพัฒนาตนเอง 2. เพื่อให้มีจำนวนครูและบุคลากรสนับสนุนเพียงพอ 2. เพื่อให้มีจำนวนครูและบุคลากรสนับสนุนเพียงพอ 3. ครูสามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 4. วิธีดำเนินการหรือกิจกรรมและระยะเวลาดำเนินงาน 5.สถานที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังลึก ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 6.งบประมาณ -
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=6283 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 6283