กล่องนมพูดได้
สร้างโดย ศพด.บ้านห้วยมุ่น (จังหวัดอุตรดิตถ์)
ผู้จัดทำ นางสาวนฤมล บุตดี
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
แผนการจัดประสบการณ์ หน่วย ธรรมชาติรอบตัว หน่วยย่อย โลกสวยด้วยมือเรา สัปดาห์ที่...............หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กล่องนมพูดได้ วันที่.......................ชั้น..................... เวลา 50 นาที ชื่อผู้สอน............................................... ……………………………………………………………………… ชื่อกิจกรรม กล่องนมพูดได้ แนวคิด ภาวะโลกร้อนคือภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงซึ่งปัจจุบันจะมีแนวโน้มอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และมักมีปรากฏการณ์จากธรรมชาติตามมา แผ่นดินไหว น้ำท่วม การรีไซเคิล คือ การนำเอาของเสียที่ผ่านการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ที่อาจเหมือนเดิม หรือไม่เหมือนเดิมก็ได้ เช่น กล่องนม ขวดพลาสติก เป็นต้น จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กสามารถสนทนาโต้ตอบได้ 2. เพื่อให้เด็กสามารถแยกแยะและจำแนกกล่องนมที่จะนำมารีไซเคิลได้ 3. เพื่อให้เด็กสามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือตาได้ 4. เพื่อให้เด็กสามารถประดิษฐ์หุ่นมือจากกล่องนมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรรู้ 1. แยกแยะและจำแนกกล่องนมที่จะนำมารีไซเคิลได้ ประสบการณ์สำคัญ 1. การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 2. การสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม 3. การประดิษฐ์ที่ใช้วัสดุสิ่งของอย่างคุ้มค่า 4. การแสดงความคิดเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ขั้นนำ 1. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับโลกร้อน - เด็กๆรู้ไหมว่าโลกร้อนคืออะไร ทำไมถึงร้อน - เด็กๆทราบไหมว่าเราจะช่วยโลกร้อนได้อย่างไร - เด็กๆรู้จักการรีไซเคิลหรือไม่อย่างไร 2. ครูให้เด็กสังเกตวัสดุเหลือใช้ที่จะนำมารีไซเคิลได้ 3. เด็กๆและครูช่วยกันเก็บกล่องนมและช่วยกันทำความสะอาดให้เรียบร้อย ขั้นสอน 1. ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม 2. ครูแนะนำอุปกรณ์และอธิบายขั้นตอนการทำกิจกรรม “กล่องนมพูดได้” พร้อมทั้งให้ตัวแทนเด็กออกมารับอุปกรณ์ 3. เด็กแต่ละกลุ่มสร้างสรรค์กิจกรรม “กล่องนมพูดได้” ตามจินตนาการ ขั้นสรุป 1. เด็กๆแต่ละคนตั้งชื่อผลงานของตน 2. เด็กแต่ละกลุ่มนำผลงานออกมาเสนอและสังเกตว่ากลุ่มไหนทำเรียบร้อย สื่อการเรียนรู้ 1. กล่องนม 2. ภาพสัตว์ต่างๆ 3. กรรไกร กาว สี 4. กระดาษเหลือใช้ วิธีวัดและประเมินผล 1. สังเกตจากการสนทนาโต้ตอบ 2. สังเกตจากการแยกกล่องนมที่สามารถนำมารีไซเคิล 3. สังเกตการร่วมทำกิจกรรมประดิษฐ์ 4. สังเกตจากผลงานและทำงานร่วมกับผู้อื่น
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=6274 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 6274