การประดิษฐ์กระปุกออมสินจากขวดพลาสติก
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยน้ำขาว (จังหวัดเพชรบูรณ์)
ผู้จัดทำ นางสาวรานา ศักดิ์เจริญชัยกุล
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
หากนึกถึงเด็กปฐมวัย เรามักนึกถึงภาพของเด็ก 3 ขวบ ตัวเล็ก ๆ สะพายกระเป๋าไปโรงเรียน ร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนและคุณครูอย่างสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นการร้องเล่นเต้นรำซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เสริมสร้างจินตนาการ และพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้เป็นส่วนใหญ่ แต่อาจเป็นโชคดีของเด็กปฐมวัยในปัจจุบัน เมื่อครูได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเด็กมากขึ้น และเชื่อว่าด้วยศักยภาพที่พวกเขามี หากรวมกับการปลูกฝังในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว การบูรณาการในครั้งนี้จะส่งผลระยะยาวให้เด็กโตมาอย่างมีคุณภาพและมีจิตสำนึกต่อการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันมากขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว ครูจึงได้บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน โดยให้เด็กประดิษฐ์กระปุกออมสินจากขวดพลาสติกขึ้น เพื่อให้เด็กได้รู้จักการการนำสิ่งของเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของและรู้ถึงการประหยัดอดออม รวมถึงคุณค่าของเงินด้วย ดังนั้น คำว่าเศรษฐกิจพอเพียง จึงไม่ใช่แค่เรื่องการทำเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัว หรือขุดบ่อเลี้ยงปลาเพียงเท่านั้น แต่กิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปนั้น คือเอาวิถีชีวิตปัจจุบันเป็นตัวตั้ง เช่น เด็กจะทำอะไรก็แล้วแต่ เขาควรจะต้องมีหลักคิดที่อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ครูควรเป็นผู้ปลูกฝังเรื่องสามห่วงสองเงื่อนไขให้กับเด็ก เพื่อเป็นกรอบในการอบรมบ่มเพราะนิสัย และปลูกฝังค่านิยมให้กับเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=6247 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 6247