สรุปข่าวเรื่อง เมื่อชุมชนร่วมสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

สร้างโดย บ้านโต้ล้ง (จังหวัดสมุทรสาคร)

ผู้จัดทำ อรวรรณ สิงหนพ

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีความร่วมมือระหว่างบ้าน,ศาสนา,การศึกษา,ภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชุมชน


            เมื่อชุมชนร่วมสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สื่อดี ครูดีโป้งสลอด มีพัฒนาการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่งสลอด เป็น ศพด.ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่ จ.เพชรบุรีโดยมี จิดาภา นวมนิ่ม หรือ “ครูอ้วน” เป็นครูพี่เลี้ยงภายในศูนย์ฯ จากเดิมที่ไม่มีอะไรเลย สภาพพื้นที่ภายนอกไม่มีรั้วรอบขอบชิด มีแต่ป่ากับหญ้าที่รกร้าง ส่วนสื่อการเรียนการสอนก็มีแต่แบบเดิมแทบจะผุพังไร้การดูแล จำนวนเด็กก็ลดน้อยถอยลงทุกปี เพราะผู้ปกครองไม่เชื่อมั่นคุณภาพ จึงพาลูกหลานไปฝากเลี้ยงที่อื่นหมด แต่ปัจจุบันศูนย์ยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนจนเป็นที่ยอมรับของสังคม นำรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ๆ และยกระดับการเรียนรู้อยู่เสมอ มีวิธีและโครงการต่าง ๆ เข้ามาเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนให้เด็กอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่น โครงการ "มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ในการสร้างสื่อเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการ ด้วยการปรับภายในอาคาร ชั้นวางหนังสือ การประดิษฐ์หุ่นมือ บ้านบอล และจัดกิจกรรมอบรมการทำหุ่นมือให้กับเครือข่าย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการประสานความร่วมมือ สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกระดับ ให้มาช่วยกันในการปรับภูมิทัศน์ และสละเวลามาช่วยสอนและดูแลในยามว่างประจำ ส่งผลให้เด็ก ๆ มีสุขภาวะที่ดีทั้ง 4 มิติ กาย ใจ ปัญญา และสังคม โครงสร้าง ศพด.บ้านโป่งสลอด จะมีคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ปลัด อบต. และชาวบ้านในชุมชน เข้าร่วม โดยมี นายก อบต. เป็นประธาน เมื่อศูนย์เด็กต้องการอะไร ชาวบ้านก็จะร่วมแรงร่วมใจกันช่วยเหลือ เช่น ทาสีเครื่องเล่นที่สนามเด็กเล่น ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตัดแต่งต้นไม้ หรือทำรั้วโรงเรียน เมื่อไม่มีงบประมาณมาซื้อวัสดุ ชาวบ้านก็ไปช่วยกันตัดก้านตาลมาทำเป็นรั้วให้ ซึ่งชุมชนถือว่ามีบทบาทอย่างยิ่งที่ช่วยในการดำเนินงานของศูนย์ฯให้สำเร็จลุล่วง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้ความสำคัญกับพัฒนาการของเด็กเล็ก โดยให้การสนับสนุนอาหารกลางวันและงบประมาณในการจัดกิจกรรมของศูนย์พัฒนาเด็กเมื่อศูนย์ฯ มีบริบท มีคุณภาพที่ดี ลูกหลานของเขาก็จะได้เรียนรู้ในที่ดี ๆ“แนวคิดในการจัดการศูนย์ฯ คือให้ความสำคัญกับชุมชนและตัวเด็ก ชุมชมต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนศูนย์ฯ และช่วยกันดูแลลูกหลานร่วมกันไม่ใช่ผลักภาระให้กับครูพี่เลี้ยงเพียงอย่างเดียว ทางศูนย์เด็กก็ต้องปรับเช่น เรื่องมารยาท อนามัย การแต่งกาย หรือการรับประทานอาหาร” ครูอ้วนได้ชวนชาวบ้านมาทำเครื่องเล่นเพิ่มเข้ามาอีกหลายชิ้น และทาสีใหม่ เด็ก ๆ จึงเพลิดเพลิน เพิ่มพัฒนาการทางด้านสมอง กล้ามเนื้อ อารมณ์ ในส่วนห้องเรียน ทางศูนย์ได้ทำสื่อการสอนหลายอย่าง เช่น โรงหุ่นนิทาน หุ่นเชิดหนังตะลุง โดยใช้หุ่นมือเล่านิทานและให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วม สวมหุ่นมือมาแสดงให้เพื่อน ๆ ดูด้วย และจะมีการถามตอบระหว่างครูพี่เลี้ยงกับเด็กตลอดเวลา การทำแบบนี้เด็กจะมีส่วนร่วม ถือเป็นการกระตุ้นจินตนาการนอกจากนี้ยังสร้างเสริมประสบการณ์จริงให้เด็ก ๆ ด้วย เช่น การฝึกทำขนมบัวลอย ถือเป็นสื่อการเรียนรู้เพิ่มพัฒนาการ เมื่อเด็กได้ปั้นแป้งจะช่วยเรื่องกล้ามเนื้อมัดเล็ก ขณะเดียวกันยังสอดแทรกการสอนการนับเลขได้ เช่น สัดส่วนเครื่องปรุง หรือการนับเม็ดขนมที่ปั้นเสร็จ วิเคราะห์ข่าว จากข่าวจะเห็นได้ว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้จากเดิมไม่มีอะไรเลย สภาพพื้นที่ภายนอกไม่มีรั้วรอบขอบชิด มีแต่ป่าหญ้ารกร้าง ขาดอุปกรณ์สื่อทางการเรียนรู้ เด็กมีจำนวนลดน้อยลงทุกปีเพราะผู้ปกครองไม่เชื่อมั่นเรื่องคุณภาพ แต่ปัจจุบันศูนย์ยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนจนเป็นที่ยอมรับของสังคม นำรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ๆ และยกระดับการเรียนรู้อยู่เสมอ มีวิธีและโครงการต่าง ๆ เข้ามาเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนให้เด็กอยู่ตลอดเวลาโดยทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมดังนี้ 1.ครูและโรงเรียน ยกระดับมาตรฐานการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กให้เติบโตสมวัย มีวิธีและโครงการต่าง ๆ เข้ามาเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอน แนะนำผู้ปกครองในการดูแลเด็ก ชักชวนให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่นร่วมในการเรียนการสอน 2.ผู้ปกครองและชุมชนช่วยในการดำเนินงานของศูนย์ฯประสานความร่วมมือ สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกระดับ ช่วยกันในการปรับภูมิทัศน์ และสละเวลามาช่วยสอนและดูแลศูนย์เด็กในยามว่าง ตัดแต่งต้นไม้ หรือทำรั้วโรงเรียน เมื่อไม่มีงบประมาณมาซื้อวัสดุ ชาวบ้านก็ไปช่วยกันตัดก้านตาลมาทำเป็นรั้วให้ 3.หน่วยงานภาครัฐและทุกภาคส่วน ให้การสนับสนุนในการสร้างสื่อเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการ ด้วยการปรับภายในอาคาร บ้านบอลและจัดกิจกรรมอบรม เทศบาลสนับสนุนอาหารกลางวันและงบประมาณในการจัดกิจกรรมของศูนย์พัฒนาเด็ก ข้อเสนอะแนะ ความร่วมมือของผู้ปกครอง ชุมชนและทุกภาคส่วน มีส่วนช่วยในการส่งเสริมและพัฒนาจึงทำให้เด็กมีการพัฒนาการสมวัยในทุกๆด้าน เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชน เกิดความรักความสามัคคีและความเข้มแข็งที่ยังยืน แหล่งอ้างอิง อิศรา.(2559).เมื่อชุมชนร่วมสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สื่อดี ครูดีโป้งสลอด มีพัฒนาการ. 15กรกฎาคม 2559. http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5909 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5909