โครงการ สายใยรักศิษย์ - ลูก กับกิจกรรมการทำขนมเทียน เพียรผูกรัก ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองโพธิ์ (จังหวัดมหาสารคาม)

ผู้จัดทำ นางสาวเสาวลักษณ์ บำรุงรส 571461321207

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีความร่วมมือระหว่างบ้าน,ศาสนา,การศึกษา,ภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชุมชน



            ขนมไทย หมายถึง เอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำที่พิถีพิถันรสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทานตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง ในสมัยโบราณคนไทยจะทาขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญเทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควรส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมที่มีหน้าตาน่ารับประทานประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม คือขนมเทียนไส้เค็มเป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยแป้งข้าวเหนียว ห่อด้วยไส้ที่ผัดกับส่วนผสมของถั่วกะทิ และหมูบด แล้วนาไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน นำไปนึ่งให้สุก โดยการทำกิจกรรมการห่อขนมเทียนนี้มีการร่วมมือร่วมใจกันทำ จากคณะครู ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน​ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาว ช่วยกันทำตั้งแต่ขั้นตอนแรกตั้งแต่การหาใบตอง เตรียมวัตถุดิบ เตรียมส่วนผสม จนถึงขั้นตอนสุดท้ายในการรวมกันทำกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งเป็นการเสริมทักษะในการใช้ชีวิต การทำงานร่วมกัน ตลอดจนการใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่น 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนและวิธีการทำขนมเทียนไส้หวาน 2. เพื่อสามารถนาไปทำรับประทานในชีวิตประจำวันได้ 3. เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประกอบอาชีพได้ 4. เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมเกี่ยวกับขนมไทย 5.เพื่อปลูกฝังค่านิยม และคุณค่าความเป็นไทยให้กับเด็ก 6.เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาตนเอง คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และนำไปสู่การพัฒนาครอบครัว และชุมชน 7.เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาจิตและคุณภาพชีวิตตามหลักทักษะในการใช้ชีวิตในสังคม 8.เด็กได้รับการเสริมสร้างด้วยหลักการมีทักษะในการใช้ชีวิตในสังคม 3. เป้าหมาย ​คณะครู ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาว จำนวน 50 คน 8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เด็กได้ทราบถึงขั้นตอนและวิธีการทาข้าวต้มมัดอย่างถูกวิธี 2. เด็กและผู้ปกครองสามารถนาไปทำรับประทานในชีวิตประจาวันได้ 3..เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาตนเอง 4. เด็กและคนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าของขนมไทย 5.เด็กได้รับการส่งเสริมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมการทำงานร่วมกัน 6. คนในชุมชนสามารถนาไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้ 7. เป็นการส่งเสริมให้รู้จักขนมไทยมากขึ้น 8.คนชุมชนตระหนักถึงคุณค่าในภูมิปัญญาของตนเอง 9. คนชุมชนคงไว้ซึ่งวิถีความเป็นอยู่พร้อมทั้งร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญา 10. เป็นการร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูการทำขนมไทย

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5892 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5892