บทความวิชาการ ทำไมจึงต้องร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนา(นางเกศราพร พันพลู รหัส218)

สร้างโดย ศพด.บ้านกำพี้ (จังหวัดมหาสารคาม)

ผู้จัดทำ นางเกศราพร พันพลู

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีทักษะในการหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง



             ในการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งคือ ความเข้าใจถึงขั้นของพัฒนาการตามวัย และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนที่ถึงแม้ว่าเป็นเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ก็อาจมีพัฒนาการทางสังคมล่าช้ากว่าเด็กทั่วไป อย่างไรก็ตาม ครูควรเข้าใจขั้นพัฒนาการของเด็กปกติเพื่อเป็นเกณฑ์การทำความเข้าใจให้ง่ายขึ้น เด็กในวัยประถมศึกษาซึ่งเป็นเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปีนั้น เป็นวัยที่เด็กมีพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงพัฒนาการทางด้านสังคมด้วย โดยที่เด็กจะมีการพบปะกันทางสังคมมากขึ้น เด็กจะใช้เวลาอยู่กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พ่อ แม่ มากขึ้น ถึงแม้ว่าพ่อ แม่ จะมีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูเด็กก็ตาม บุคคลอื่นก็มีบทบาทในการรอบรมเลี้ยงดูเด็กพอ ๆ กับพ่อแม่  เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่สำคัญในการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ที่จะสามารถรับผิดชอบตนเองได้ เช่น เริ่มเรียนรู้ในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น การให้ความเป็นเพื่อนกับบุคคลอื่น เป็นต้น สังคมของเด็กวัยนี้จะเริ่มอยู่กับกลุ่มและกับเพื่อนวัยเดียวกัน เด็กจะเริ่มเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น เริ่มเรียนรู้มารยาททางสังคมและนิสัยเหมือนเด็กเล็ก ๆ ที่จะเริ่มลดลง ทักษะชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญใน สถานการณ์ที่ประชาชนต้องเผชิญกับภาวะสุขภาพที่ไม่ดีอยู่ในภาวะความเครียดที่ไม่สามารถจัดการแก้ปัญหาได้ ทักษะชีวิตมีความจำเป็นสำหรับเด็กและเยาวชนในวัยที่ต้องเจริญเติบโตในโลกที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิด อะไรขึ้นในวันข้างหน้า ด้วยการที่สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีความเป็นสังคมเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ไม่ยอมเปิดกว้างให้มีการส่งเสริมเด็กและเยาวชนให้มีคุณค่า และเยาวชนเองก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีความกระจ่างชัด ในความคิดของตน เกี่ยวกับโอกาสชีวิตข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร ปัจจัยทั้งหมดจึงชักนำให้เยาวชนมีความอ่อนแอ การมีทักษะชีวิตจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เด็กและเยาวชนเข้มแข็งขึ้น สามารถพัฒนาปรับปรุงตัวเองให้อยู่ใน สถานการณ์ที่ยุ่งยากได้และช่วยให้เยาวชนปรับเปลี่ยนตนเองให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีได้ การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย เป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งให้การศึกษาควบคู่กับการให้การอบรมเลี้ยงดูเด็ก ให้มีพัฒนานั้นต้องร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน บ้าน ชุมชนเพื่อให้การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่รกเกิดต้องเกิดจากครอบครัวตลอดจนมุ่งก้าวเข้าสู่โรงเรียน จึงได้ออกแบบองค์รวมทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เป็นไปตามวัยอย่างเต็มศักยภาพ ภายใต้การบริหารจัดการด้านหลักสูตร ที่มีความเหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของครู ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับเด็กในวัยนี้ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการร่วมมือกับครูและโรง เรียน เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะพัฒนาการการเรียนรู้และความคาดหวังของผู้ปกครอง ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดการศึกษาในวัยนี้ ประ สบความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพ

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5881 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5881