บทความวิชาการ ทำไมจึงต้องร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนาเด็ก(นางสาวมะลิวัลย์ จงใจงาม)

สร้างโดย ศพด. บ้านฮ่องน้อย (จังหวัดมหาสารคาม)

ผู้จัดทำ นางสาวมะลิวัลย์. จงใจงาม

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ



            การฝึกให้เด็กได้รู้จักและพัฒนาทักษะ ชีวิต โดยเฉพาะในสถานการณ์จริงอย่างที่บ้าน เท่ากับเป็นการฝึกให้เด็กๆได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทักษะชีวิตไม่ได้มีความหมายเพียงเพื่อการทำงานบ้านได้หรือช่วยเหลือตัวเอง ได้เท่านั้น แต่เด็กๆที่มีทักษะชีวิตที่ดี จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีอารมณ์ที่เบิกบาน สามารถปรับตัวได้ และช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย นอกจากทักษะในด้านการลงมือทำแล้ว เด็กๆยังจะต้องฝึกฝนและเรียนรู้ทักษะชีวิตอีกหลายด้าน และผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กได้ทั้ง 6 ด้าน หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว ผู้ปกครองก็จะเป็นหุ้นส่วนของโรงเรียนในการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กสู่คุณภาพสูงสุดได้แน่นอน มีประโยชน์ (benefits) ของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองอย่างจริงจัง ว่าจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จทางการศึกษาและชีวิตในหลายด้าน ส่งเสริม เสริมสร้าง เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กอย่างจริงจัง ฉะนั้นทางโรงเรียนจึง มีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ และตระหนักดีว่าจะต้องปรับปรุงวิธีการ และจัดหาโอกาสให้เหมาะสมกับผู้ปกครองที่มีความแตกต่างกันทั้งด้าน เวลา ลักษณะครอบครัว ลักษณะของงานประจำ ฯลฯ ให้มากขึ้น อย่างไรก็ดี โรงเรียนหวังอย่างยิ่งว่าผู้ปกครองจะเห็นความสำคัญ ตระหนักถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้ และเข้ามามีส่วนร่วมในการให้การศึกษาเด็กอย่างเชื่อมโยงกันระหว่างบ้าน โรงเรียน และชุมชน อีกทั้งมีส่วนร่วมในการทำให้การมีส่วนร่วมนี้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กๆ นักเรียน เพื่อให้เกิดเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสามารถก้าวไปสู่จุดหมายแห่งความเป็นชีวิตที่ดี และ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น สามารถจัดการกับความกดดัน ความบีบคั้น ปัญหารอบตัว และเตรียมพร้อมสำหรับปรับตัวในอนาคต จึงจะเรียกได้ว่า เป็นคนสมบูรณ์แบบ เป็นสมาชิกที่ดีมีคุณค่าอย่างแท้จริงของสังคม สามารถนำสังคมไปสู่สันติสุขและทักษะทางสังคมเป็นทักษะสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ และครู ควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทย ร่วมกับทักษะด้านอื่น ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นใบเบิกทางสำคัญสู่ความสุขความสำเร็จของเด็กต่อไปในอนาคต รวมทั้งเพื่อการปฏิบัติต่อกันในสังคมอย่างถูกต้องเหมาะสมอันเป็นเหตุที่นำมาซึ่งความสงบสุขของสังคมในภาพรวม ทั้งนี้การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้ยั่งยืนต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียน ต้องมุ่งมั่น จริงจัง และต่อเนื่อง จึงจะส่งผลให้เกิดการทำงานร่วมกันในลักษณะกัลยาณมิตรอย่างยั่งยืน

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5839 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5839