โครงการสานใยรักศิษย์-ลูก
สร้างโดย โพธิ์ตาก (จังหวัดมหาสารคาม)
ผู้จัดทำ นางสาวสุภารัตน์ อนุญาหงษ์
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
หัวข้อ “ทำไมจึงต้องร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนาเด็ก” เรื่อง การละเล่นพื้นบ้านไทย เด็กยุคใหม่ควรรู้ นางสาวสุภารัตน์ อนุญาหงษ์ ความนำ การละเล่นพื้นบ้านของไทยหมายถึงการละเล่นที่ผู้เล่นต่างสมัครใจมีการเคลื่อนไหวในกิริยาต่างๆ เน้นความสนุกสนานเพลิดเพลินเป็นการถ่ายทอดของคนไทยสืบต่อกันมาจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง มีกฎกติกาที่ไม่ซับซ้อนสามารถยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ และมีความเหมะสมกับวีถีชีวิต วัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อเด็กได้เล่นคนเดียวหรือเป็นกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เด็กได้รับการเตรียมความพร้อมในพัฒนาการด้านต่างๆ ครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา อีกทั้งมีส่วนช่วยพัฒนาให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตนเองได้อีกทางหนึ่งด้วย การละเล่นของไทยในสมัยก่อนนั้น มีวิธีการเล่นที่สนุกสนานและหลากหลาย การละเล่นของเด็กไทยในสมัยก่อน ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลายประเภท อาทิ เช่น รีรีข้าวสาร,งูกินหาง มอญซ่อนผ้า และอีกมากมาย บางประเภทก็มี บทร้อง ท่าทางประกอบ ข้อตกลงในการเล่นของแต่ละท้องถิ่น บางครั้งก็เล่นเพื่อการแข่งขัน และ เล่นเพื่อการออกกาลังกายที่จะทำให้เด็กเกิดสมรรถภาพทางกายที่ดี มีความสุขสนุกสนานและพัฒนาการทางด้านสังคมอีกทั้งเป็นการละเล่นที่ไม่เน้นอุปกรณ์หรือเครื่องประกอบการเล่นมากนักวัสดุที่ใช้หาง่ายสะดวกสบายและประหยัด การเล่นมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การพัฒนาแก่เด็กในด้านต่างๆ เช่น ด้านความคิด จิตนาการ ภาษา ด้านการเรียนรู้กฎระเบียบทางสังคม วัฒนธรรม ซึ่งการเล่นจะดึงเอาความรู้สึกนึกคิดของเด็กออกมา และที่สำคัญการเล่นมีหน้าที่พัฒนาจิตใจของเด็กให้สูงขึ้น โดยการเล่นอาจจะแฝงด้านคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็ก รวมถึงพัฒนาการทางด้านสังคมด้วย เพราะการเล่นเด็กจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและกับวัตถุ ไวก็อตสกี้ (Vygosky) จะให้ความสำคัญโดยเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต เป็นต้นไป โดยเด็กจะมีกระบวนการเล่นที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุ ตามสภาพแวดล้อม และบุคคลที่เกี่ยวข้อทั้งที่เป็นการเล่นที่เป็นส่วนตัว การเล่นในเกม ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามที่ต่างๆ หรือแม้กระทั่งในระบบการศึกษา และจากที่กล่าวมาไม่ว่า เด็กจะมีรูปแบบการเล่นแบบไหน เล่นที่บ้าน หรือที่โรงเรียน ก็จะเกี่ยวข้องและมีกระบวนการเรียนรู้ หรือกระบวนการในการพัฒนากับทฤษฎีที่สำคัญของ ไวก็อตสกี้ (Vygosky) ซึ่งเรียกว่าเขต proximal ของการพัฒนา ( zpd ) zpd เป็นทักษะการรับรู้และแนวคิดต่างๆที่ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาอย่างเต็มที่ แต่เป็น “บนขอบของสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่” เพียงแค่เด็กได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมของผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครูหรือบุคคลอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็ก ต้องหันกลับมามอง “การเล่น” และให้ความสำคัญกับการเล่นอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อที่การเล่นจะได้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาเด็กทุกช่วง อายุต่อไป(เอกสารอ้างอิง ข้อมูลเว็บไซต์ krukasorn.wordpress.com) ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กโพธิ์ตาก องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตาก จังหวัดนครพนม จึงได้มีแนวคิดในการนำ การละเล่นพื้นบ้านไทย มาจัดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นการสืบทอดและอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านไทย ให้รู้จักกันในรุ่นต่อๆไป และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้เด็กเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะชีวิต ทักษะสังคม และทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา บ้านและชุมชน โดยการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน และเด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกัน กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโพธิ์ตากได้จัดให้กับเด็ก กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย การเล่นรีรีข้าวสาร กติกา "รีรีข้าวสาร" ก็คือ ต้องมีผู้เล่น 2 คนหันหน้าเข้าหากัน และเอามือประสานกันไว้เป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้เล่นคนอื่น ๆ จะกี่คนก็ได้จะยืนเกาะเอวกันไว้ตามลำดับ หัวแถวจะพาขบวนลอดซุ้มพร้อมร้องเพลง "รีรีข้าวสาร" จนเมื่อถึงประโยคที่ว่า "คอยพานคนข้างหลังไว้" ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันไม่ให้คนสุดท้ายผ่านเข้าไป เรียกว่า "คัดคน" และเล่นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนคนหมด ประโยชน์ของการเล่นรีรีข้าวสาร ก็คือ ช่วยให้จิตใจร่าเริงแจ่มใส รู้จักมีไหวพริบ ใช้กลยุทธ์ให้ตัวเองเอาตัวรอดจากการถูกคล้องไว้ได้ รวมทั้งฝึกให้เด็กทำงานเป็นกลุ่มได้ด้วย อ้างอิงมาจาก http://hilight.kapook.com/view/50651 การเล่นงูกินหาง วิธีการเล่นงูกินหาง เริ่มจากเสี่ยงทาย ใครแพ้ต้องไปเป็น "พ่องู" ส่วนผู้ชนะที่มีร่างกายแข็งแรง ตัวใหญ่จะเป็น "แม่งู" ไว้คอยปกป้องเพื่อน ๆ คนอื่นที่เป็น "ลูกงู" จากนั้น "ลูกงู" จะเกาะเอวแม่งูและต่อแถวกันไว้ ยืนเผชิญหน้ากับ "พ่องู" จากนั้นจะเข้าสู่บทร้อง โดยพ่องูจะถามว่า พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน" แม่งู : "กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา) พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน" แม่งู : "กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา" (พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา) พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน" แม่งู : "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา) จากนั้นพ่องูจะพูดว่า "กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว" แล้ววิ่งไล่จับลูกงูที่กอดเอวอยู่ ส่วนแม่งูก็ต้องป้องกันไม่ให้พ่องูจับลูกงูไปได้ เมื่อลูกงูคนไหนถูกจับ จะออกจากแถวมายืนอยู่ด้านนอก เพื่อรอเล่นรอบต่อไป หากพ่องูแย่งลูกได้หมด จะถือว่าจบเกมแล้วเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูจะกลับไปเป็นแม่งูต่อในรอบต่อไป ประโยชน์ของการเล่นงูกินหางก็คือ ทำให้ผู้เล่นเกิดความสามัคคี ทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักช่วยเหลือกัน และรู้จักการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด เมื่อภัยมาถึงตัว นอกจากนี้ยังฝึกร่างกายให้แข็งแรง และจิตใจเบิกบานสนุกสนานไปด้วย อ้างอิงมาจาก http://hilight.kapook.com/view/50651 การละเล่นโพงพาง วิธีเล่น ยิงฉุบกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่น ๆ จับมือเป็นวงกลมร้องเพลง โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอดปล่อยลูกช้างเข้าในวง ขณะเดินวนรอบ ๆ โพงพางตาบอดร้องเพลง ๑-๓ จบ แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่น ๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางอีกไป เรื่อย ๆ กติกา ใครถูกจับได้ และบอกชื่อถูกต้องเป็นโพงพางแทน ประโยชน์ การเล่นชนิดนี้ ฝึกการสังเกตทางประสาทหู และการสัมผัส อ้างอิงมาจาก http://www.childanddevelopment.com การละเล่นม้าก้านกล้วย วิธีการเล่นให้นำก้านกล้วยที่เปลี่ยนสภาพมาเป็นก้านกล้วยโดยสมบูรณ์แล้ว ขึ้นขี่บนก้านกล้วยแล้วออกวิ่ง จากนั้นส่งเสียงร้อง ฮี้ฮี้ แต่ถ้ามีผู้เล่น2คนขึ้นไป ก็สามารถจัดเป็นการแข่งขันขึ้นได้ โดยฝ่ายไหนวิ่งเร็วที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะ ประโยชน์และคุณค่าการเล่นม้าก้านกล้วย - การทำท่าเหมือนม้า ทำให้เด็กมีจินตนาการ และ กล้าแสดงออก - เป็นการออกกำลังกายอย่างดีสำหรับเด็กในวัยนั้น - รักษาประเพณีพื้นบ้านของไทย อ้างอิงมาจากwww.m5.sura.ac.th/web57/511/29/การละเล่นม้าก้านกล้วย.html สรุป ทักษะชีวิตที่เด็กได้รับคือ เด็กมีความภาคภูมิใจในตัวเอง ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมพื้นบ้านของตนเองมีความมั่นใจในตัวเอง กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก สามารถทำสิ่งต่างๆได้อย่างมีความสุข ความมีระเบียบวินัยในตนเองและผู้อื่น มีความอดทน รู้จักการรอคอย ทักษะสังคมที่เด็กได้รับคือ ความสามัคคี การทำงานเป็นกลุ่ม การเล่นเป็นกลุ่ม รู้จักกติกาการเล่น รู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตาม รู้จักช่วยเหลือกัน และรู้จักการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด เมื่อภัยมาถึงตัว ทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และมีจิตใจเบิกบานสนุกสนาน การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน คือ ครูจัดกิจกรรมการละเล่น ม้าก้านกล้วย แล้วสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่นำมาทำเป็นม้าก้านกล้วย ครูพาเด็กไปดูสวนกล้วย เพื่อเรียนรู้วิธีการปลูกต้นกล้วย และส่วนประกอบของต้นกล้วย จากผู้ปกครองในชุมชน
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5830 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5830