กะลาของเล่นพื้นบ้านเติมเต็มพัฒนาการเด็กปฐมวัย

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองดู (จังหวัดมหาสารคาม)

ผู้จัดทำ นางสาวธัญญรัตน์ บุญศรีเลิศ

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน



            เรื่อง “กะลาของเล่นพื้นบ้านเติมเต็มพัฒนาการเด็กปฐมวัย” ความนำ ในปัจจุบันของเล่นเด็กมีมากไม่ว่าจะเป็นสื่อเครื่องเล่นที่ ไฮเทคฯสำเร็จรูปแบบใหม่ๆ หาซื้อตามร้านค้าหรือสั่งซื้อตาม อินเตอร์เน็ตโดยที่ครูและเด็กแทบจะไม่มีบทบาทในการผลิตสื่อเครื่อง เล่นเองจนทำให้เด็กรุ่นใหม่แทบไม่รู้จักของเล่นพื้นบ้านภูมิปัญญาท้อง ถิ่นที่ทำมาจากกะลามะพร้าววัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นเป็นผลผลิตจาก ธรรมชาติจากชุมชนนำมาดัดแปลงเป็นของเล่นให้เด็กๆได้เรียนรู้ผ่าน การเล่นจินตนาการความสุขสนุกสนานจึงก่อรูปร่างเป็นความจริงจับ ต้องได้จากการเล่นกะลาของเล่นพื้นบ้านเติมเต็มพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของเล่น หมายถึง วัสดุต่างๆหรือของเล่นทั้งที่เป็นของเล่น จากวัสดุธรรมชาติและของเล่นที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมที่นำมา ให้เด็กเล่นเพื่อพัฒนาเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและ สติปัญญา ของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย “อย่ามองการเล่นของเด็กว่า เล่นอะไร เพราะคำตอบคือเล่น ของเล่น แต่ถ้าคิดต่อว่า เล่นอย่างไร ก็จะเห็นสิ่งที่นำมาเล่น ซึ่งอาจไม่ใช่ ของเล่นทั่วไป ...ของใช้ ...ท่อนไม้...ใบไม้...ก้อนหิน...กะลา สารพัด สิ่งของที่นำมาเล่นต้องผ่าน กระบวนการคิด ว่าจะเล่นอย่างไร ถ้าเล่น หลายคนก็ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ปัญหา. (ชีวิน วิสาสะ. 2546. ) กะลาของเล่นพื้นบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นผลผลิตจาก ธรรมชาติวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น หรืออาจเหลือใช้จากธรรมชาติมี ประโยชน์มากมายนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่หลากหลายและ ยังนำมาประดิษฐ์เป็นสื่อของเล่นที่หลากหลายให้กับเด็กเล่น เช่น กระปุกออมสิน เต่า หนู ทำเครื่องเล่นดนตรี อีโก๊ะหรือการเดินกะลา เด็กสมัยก่อนมักเล่นแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาการเดินกะลา ลักษณะการเล่นเป็นหมู่กลุ่ม ซึ่งทำให้ผู้เล่นมีทักษะการสร้างสัมพันธภาพ กับผู้อื่น รู้จักการให้อภัย การเล่นมักจะมีการเล่นช้า ๆ ไม่เร่งรีบ ไม่ก้าวร้าว สามารถส่งเสริมพัฒนาการได้ครอบคลุมหลายๆ ด้าน เช่น ด้าน การเข้าสังคม ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก (การใช้มือและตาประสาน กัน) ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เนื่องจากการเล่นมีผลต่อการเรียนรู้ และการเลียนแบบอุปนิสัย สามารถหล่อหลอมและขัดเกลาเด็กได้ ทำให้ เด็กรู้จักการอดทน รอคอย ไม่วู่วาม รู้จักสังเกต รอบคอบมากขึ้น ซึ่งจะ เป็นการหล่อหลอม สร้างความสมดุลในชีวิตได้ ศิริรัตน์ กาญจนพัฒน์. (2552)ได้กล่าวถึง ของเล่นพื้นบ้านเป็น สิ่งของวัสดุที่นํามาเล่นโดยทํามาจากวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น เป็น ผลผลิตจากธรรมชาติหรืออาจเหลือใช้จากธรรมชาติก็ได้ ซึ่งสะท้อนให้ เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของสังคมอื่นๆ และช่วยเสริมสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน คือ กาย วาจา ใจ และสังคม กิจกรรม กระตุ้นพัฒนาด้วยการเล่นของเล่นพื้นบ้านที่สืบสานมาจากผู้สูงวัย. ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองดู่ได้นำเอาวัสดุจากธรรมชาติ มาจัดการเรียนการสอนในการผลิตสื่อจากกะลามะพร้าวที่หาได้จาก ชุมชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดหากะลามะพร้าว ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อให้ครูกับนักเรียนช่วยกันผลิต สื่อและของเล่นที่ทำจากกะลามะพร้าวมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อ โดยที่ให้ เด็กได้ลงมือผลิตสื่อร่วมกับครูเพื่อให้เด็กรู้วิธีการและขั้นตอนการผลิต สื่อ กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยการเล่นของเล่นเด็ก ๆ ได้เรียนรู้ของเล่นที่ทำด้วยมือเหล่านี้ด้วยตนเองก็จะได้รับประโยชน์ มากมาย เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และผู้เรียนได้รับประสบการณ์ โดยตรง อุปกรณ์ในการผลิตสื่อเดินกะลา 1. เชือก: ยาวประมาณ 1 วา - 1 วา ครึ่ง แล้วแต่ความถนัดของผู้เล่น ทุกคน อุปกรณ์ในการผลิตสื่อเดินกะลา .2 กะลามะพร้าวแก่: 2 อัน วิธีทำ 1.นำกะลาของมะพร้าวมาแล้วขูดเนื้อออกแล้ว ทำความสะอาดเอาเศษ เสี้ยนออก ทำ 2 อัน 2.เจาะรูตรงกลางของกะลาทั้งสองอัน แล้วนำเชือกมายาวประมาณ 2 เมตร 3.นำเชือกสอดเข้าไปในรูจากด้านบน จาดนั้นมัดปลายเชือกให้เป็นปม เพื่อไม่ให้เชือกหลุดออก วิธีการเล่น 1. เอาเชือกเส้นหนึ่งยาวประมาณ ๑ วา ร้อยกะลามะพร้าว ๒ อัน 2.แล้วผู้เล่นขึ้นไปยืนบนกะลามะพร้าวโดยใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้หนีบ 3.เส้นเชือกเอาไว้ทั้ง ๒ เท้า (เหมือนกับหนีบรองเท้าฟองน้ำ) บทสรุปส่งท้าย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงนำเอากะลาของเล่นพื้นบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นของเล่น พื้นบ้านที่เรียบง่าย แต่มากด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบสานมาจากผู้สูงวัยทอดผ่านช่องว่างระหว่างวัยและช่องว่างทางวัฒนธรรมได้ด้วยสามารถสร้างสรรค์สายสัมพันธ์รักระหว่างสมาชิกภายในครอบครัวและ ชุมชน ทักษะการใช้ชีวิตของชุมชนการได้รับทักษะทางสังคม การทำงานร่วมกันกับเพื่อน และได้รับการพัฒนาที่ดีมีสติปัญญาความรู้คู่คุณธรรมสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก ปฐมวัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนสติปัญญาและจริยธรรมเข้มแข็ง เท่าๆ กับกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่แข็งแรงสอดคล้องตาม ช่วงวัย รูปแบบการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองดู่ โดยใช้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ นำเด็กๆนอกสถานที่ โดย ครูพาเด็กไป ดูคุณตาเลื่อนสาธิตการทำของเล่นื้นบ้านจากกะลามะพร้าวในชุมชน การที่เด็กๆได้ไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ในครั้งนี้เด็กๆ ตื่นเต้น สนุกสนานมากในระหว่างเดินทางเด็กได้สังเกตสิ่งแวดล้อมร อบๆตัว รู้จักพูดคุยโต้ตอบและรู้จักการเข้าแถวเป็นระเบียบวินัย รู้จัก การทักทายการไหว้ผู้ใหญ่ เป็นการฝึกมารยาทให้กับเด็กด้วย เด็กๆได้ เรียนรู้โดยการสังเกตทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรง เป็นการ สืบทอดรุ่นลูกสู่รุ่นหลาน โดยมีครูคอยดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เด็ก ได้ฝึกการเข้าสังคม รู้จักการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นได้ดี ทักษะชีวิตเด็กได้การรู้จักการใช้ชีวิตของชุมชนการการทักทาย ผู้ใหญ่การยกมือไหว้การเข้าแถวเป็นระเบียบเรียบร้อยการมีปฏิสัมพันธ์ กับผู้อื่น ทักษะทางสังคมเด็กได้พูดคุยโต้ตอบกับเพื่อนและการทำงาน เป็นกลุ่มและรู้จักการเข้าแถวเป็นระเบียบวินัย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับชุมชนผู้ปกครองมีส่วนร่วมใน การจัดการเรียนการสอนการเช่นนำกะลามะพร้าวมาให้ที่โรงเรียนเพื่อ ให้ครูผลิตสื่อเดินกะลาครูและเด็กออกไปศึกษานอกสถานที่เป็นแหล่ง เรียนรู้ที่ชุมชนซึงมีคุณตาเป็นคนทำไม้ก้านมะพร้าวและเด็กๆได้เจอกับ ผู้ใหญ่ในชุมชนการยกมือทำความเคารพ ประโยชน์จากการเดินกะลา 1 ส่งเสริมพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อ แขน ขา และการทรงตัว 2. ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม ภาษา ความสนุกสนาน ใน กรณีแข่งขัน ส่งเสริมความมีน้ำใจของนักกีฬา ความมุ่งมั่นต่อความ สำเร็จ 3. การเดินกะลา เป็นการส่งเสริมการออกกำลังกาย และเป็นการส่ง เสริมการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านของไทย รวมทั้งเป็นการเชิดชูการละเล่น พื้นบ้านวัฒนธรรม สนุกสนานเพลิดเพลินไปกับของเล่นเหล่านี้ร่วมกัน ของเล่นที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงหรือผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สิ่งที่เด็กได้รับจากการเดินกะลา เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโต ช่วย พัฒนาร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาจากการเล่น เด็กมี โอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสการ ประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับเท้าได้ดีและการรับรู้ผ่อนคลายอารมณ์ และแสดงออกถึงตนเอง เรียนรู้ตามความรู้สึกของคนอื่น สร้างความ สัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน ร่วมมือช่วยเหลือกัน มีความ เชื่อมั่นในตนเองและกล้าที่จะแสดงออก การนำแนวคิดและทฤษฎีของจอห์น ดิวอี้ คือ เน้นให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้สถานการณ์ที่เป็นจริง เพราะการ ศึกษาคือ ความเจริญงอกงามทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา และ คุณธรรม ดังนั้นกระบวนการสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ที่ต่อเนื่องกับ ประสบการณ์เก่าไปเรื่อย ต้องส่งเสริมให้เกิดประสบการณ์ใหม่เพื่อเป็น วิถีนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในปัจจุบันและอนาคตได้ การนำแนวคิดและทฤษฎีของบรูเนอร์ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริงเป็นการจัด กิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจาก การเผชิญสถาน เด็กจะแสดงการพัฒนาทางสมอง หรือทางปัญญาด้วย การกระทำ และยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต วิธีการเรียนรู้ในขั้น นี้จะเป็นการแสดงออกด้วยการกระทำ เรียกว่า Enactive mode จะเป็น วิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการสัมผัส จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง รวมถึงการใช้ปากกับวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว สิ่งที่สำคัญเด็กจะ ต้องลงมือกระทำด้วยตนเอง เช่น การเลียนแบบ หรือการลงมือกระทำ กับวัตถุสิ่งของ

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5829 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5829