สืบสานวัฒนธรรมไทญ้อ ชุมชนท่าค้อ เซิ้งกระติบนครพนม
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองดู่ (จังหวัดมหาสารคาม)
ผู้จัดทำ นางสาวดวงฤทัย ภะวะ
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
สืบสานวัฒนธรรมไทญ้อ ชุมชนท่าค้อ เซิ้งกระติบนครพนม นางสาวดวงฤทัย ภะวะ ความนำ นครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ติดกับแม่น้ำโขง การแสดงจะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และสะท้อนให้เห็นถึงการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี ในแต่ละภาคจะมีการแสดงประจำภาค แตกต่างกันออกไปตามภูมิลำเนาของภาคนั้นๆ ตั้งแต่ การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ สำหรับภาคอีสานนั้น คือ การแสดงที่เรียกกันว่า เซิ้งกระติบ โดยการแสดงนี้จะมีจุดเด่น คือ กระติบข้าวที่ใช้ประกอบการแสดง รวมทั้งที่เป็นเอกลักษณ์ คือ การแต่งกาย ประวัติความเป็นมาของเซิ้งกระติบข้าว เป็นการแสดงของภาคอีสานที่เป็นที่รู้จักกันดี และแพร่หลายที่สุด ชุดหนึ่ง จนทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า การแสดงของภาคอีสานมีลักษณะเป็นการรำเซิ้งเพียงอย่างเดียว เซิ้งกระติบข้าวได้แบบอย่างมาจากการเซิ้งบั้งไฟ ซึ่งแต่เดิมเซิ้งอีสานจริงๆ ไม่มีท่าทางอะไร มีแต่กินเหล้า ยกมือไม้ สะเปะสะปะให้เข้ากับจังหวะเสียงกลองไปตามใจ (มีผู้นิยามว่า ฟ้อนตามแบบกรมสรรพสามิต) โดยไม่ได้คำนึงถึงความสวยงาม นอกจากให้เข้าจังหวะกลอง ตบมือไปตามเรื่องตามฤทธิ์เหล้า ในราว พ.ศ. 2507 สมเด็จพระบรมราชินีนาถต้องการการแสดงของภาคอีสาน เพื่อต้อนรับสมเด็จพระนางเจ้าอะเลียนา และเจ้าหญิงบีทริกซ์ แห่งประเทศเนเธอแลนด์ จึงมีการนำเอาเพลงอีสานคือ หมอลำจังหวะช้าเร็ว โดยมีท่าถวายบังคม ท่านกบิน ท่าเดิน ท่าดูดาว ท่าม้วนตัว ท่าสนุกสนาน ท่าปั้นข้าวเหนียว ท่าโปรยดอกไม้ ท่าบังแสงอาทิตย์ ท่าเตี้ย (รำเตี้ย) และในการแต่งกายครั้งแรกนั้นจะนุ่งผ้าซิ่นห่มผ้าสไบ เกล้าผมสูง แต่ไม่มีใครยอมห้อยกระติบข้าวเพราะเห็นว่ารุงรัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตร พระองค์จึงรับสั่งให้ใครสักคนหนึ่งลองรำดูว่า ถ้าไม่ห้อยกระติบข้าว หรือห้อยกระติบข้าวแล้วจะเป็นอย่างไร ? คุณหญิงเบญจวรรณ อรวรรณ เป็นผู้ทดลองรำดู ครั้งแรกไม่ห้อยกระติบข้าวก็น่ารักดี ครั้งที่สองรำโดยห้อยกระติบข้าวทุกคนก็คิดว่ากำลัง น่ารัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งคำเดียวว่า "น่าเอ็นดูดีนี่" ผู้รำทุกคนก็พากันรีบห้อยกระติบข้าวกันใหญ่ทางไหล่ขวาทุกคน การเซิ้งครั้งนั้น ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เรียกชื่อว่า "เซิ้งอีสาน" ต่อมามีผู้นาเซิ้งอีสานไปแสดงกันทั่วไปแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "เซิ้งกระติบข้าว" เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมสีพื้น นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ห่มผ้าสไบเฉียง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ห้อยกระติบข้าวทางไหล่ขวาเครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเซิ้งอุปกรณ์การแสดง กระติบข้าว อุปกรณ์การแสดง กระติบข้าว หรือภาษาอีสานบางแห่ง เรียกว่า ก่องข้าว เป็นภาชนะใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียว ที่ทรงคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบหรือก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ (ต่างจากกระติกน้ำแข็งที่เก็บความร้อนได้แต่ไม่ยอมให้ไอน้ำระเหยออก ข้าวเหนียวจึงเปียกแฉะ) ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่การสานกระติบเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีตาห่างเล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวผ่านช่องว่างภายในกระติบข้าวชั้นในได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่าเพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบข้าว ยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ จึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่ ฝาปิดและตัวกระติบ จะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อยให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี การแต่งกาย ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมสีพื้น นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ห่มผ้าสไบเฉียง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ห้อยกระติบข้าวทางไหล่ซ้ายเฉียงไปทางขวา แต่งกายแบบพื้นเมืองภาคอีสาน นุ่งผ้าซิ่น มีเชิงยาวคลุมเข่าเล็กน้อย สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลมหรือคอปิด ห่มสไบทับเสื้อ ประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ เกล้าผมมวยสูงทัดดอกไม้ จังหวะ จังหวะ ป๊ะ เพิ่ง ป๊ะ เพิ่ง ป๊ะ เพิ่ง เพิ่ง เครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบจังหวะ ได้แก่ กลองแต๊ะ กลองยาว แคน ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง ฉาบ และกรับ วัฒนธรรมเป็นผลรวมของการสะสมสิ่งสร้างสรรค์และภูมิธรรมภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคมนั้นๆ วัฒนธรรมมีความหมายรวมไปถึงวิถีชีวิตความเป็นของทั้งหมดในสังคมตั้งแต่ภายในจิตใจของคน คุณค่าทางจิตใจ คุณธรรม ลักษณะนิสัย แนวความคิดและสติปัญญาออกมาจนท่าทีและวิถีปฏิบัติของมนุษย์ต่อจิตใจ การอนุรักษ์ (Conservation) หมายถึง การรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมที่หาดูได้ยากหรือกำลังจะสูญหายไป และไม่สามารถคลี่คลายพัฒนาได้อีก เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังในการที่จะติดตาม ศึกษาค้นคว้า หาร่องรอยความเจริญทางวัฒนธรรมในอดีต การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างฉลาดให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุดซึ่งต้องเสียผลประโยชน์ให้น้อยที่สุด ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองดู่จะมีเด็กที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออก ขี้อาย เพราะความขี้อายจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงจะเน้นการจัดกิจกรรมให้เด็กได้กล้าแสดงออก ให้ทำบ่อยๆ จะทำให้เด็กกล้าแสดงออก และทำให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเอง ขั้นตอนการสอนการสาธิตท่ารำเซิ้งกระติ๊บข้าวแบบสั้น 1.ครูสาธิตในการเซิ้งก่อน ดังนี้ 1.1เดินย่ำเท้าและมือจับเอว โดยต้องเขย่งปลายเท้า เมื่อได้เท้าแล้วจะเดินแบบธรรมชาติคือ จะต้องแกว่งแขนตามธรรมชาติ 1.2.เดินย่ำไปเรื่อยๆ และเริ่มตั้งวงไปข้างหลัง มืออีกข้างจะจีบคว่ำยาวส่งมาข้างหน้า มือข้างหลังจะแทงวงปลายนิ้วไปข้างหลังและทำสลับไปมา 1.3.ทำไปเรื่อยๆและค่อยๆย่อตัวลง และเริ่มเข้าท่าจีบข้างตัวและขย่มตัวทำสลับพร้อมกับเปลี่ยนมือเป็นพนมมือและค่อยๆลุกขึ้นยืน 2.ให้เด็กยืนเรียงแถวหน้ากระดาน หรือตามความเหมาะสมของจำนวนเด็กๆ 3.ให้เด็กทำตามไปพร้อมๆกับคุณครู การแต่งกาย สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมสีพื้น นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ห่มผ้าสไบเฉียง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ห้อยกระติบข้าวทางไหล่ซ้ายเฉียงไปทางขวา แต่งกายแบบพื้นเมืองอีสาน นุ่งผ้าซิ่น มีเชิงยาวคลุมเข่าเล็กน้อย ส่วนผู้ชายใส่เสื้อ หม้อฮ่อม กางเกงขาก๊วย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองดู่จะมีเด็กที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออก ขี้อายเพราะความขี้อาย จะมีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงจะเน้นการจัด กิจกรรมให้เด็กได้กล้าแสดงออก ให้ทำบ่อยๆจะทำให้เด็กกล้าแสดงออกและทำให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองดู่ ได้นำการแสดง เซิ้งกระติบ มาจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนเพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ ศิลปะ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี พร้อมทั้ง สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครอง บ้าน และชุมชน ทุกภาคส่วนต้องประสานสัมพันธ์กันร่วมกันพัฒนา ส่งเสริม ให้เด็กเล็กมีพัฒนาการที่ดีครบทั้ง 4 ด้าน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สามารถกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง มีความเชื่อมั่นในตนเองเห็นคุณค่าของตนเองไปพร้อมๆกันเพื่อเด็กจะมีพัฒนาการที่ดีและมีประสิทธิภาพ การจัดกิจกรรมเซิ้งกระติบนั้นจะทำให้เด็กรู้จักวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีในท้องถิ่น รู้จักการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ให้รู้จักในการใช้ทักษะชีวิตในการทำกิจวัตรประจำวันให้เด็กกล้าแสดงออก พร้อมทั้งเป็นการสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีในการแสดงเซิ้งกระติบ สืบต่อไป(วิชาทักษะชีวิต) พร้อมทั้งเชื่อมโยงให้เด็กและผู้ปกครองชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรมโดยจะเน้นผู้ปกครองและชุมชนมีบทบาทในการจัดกิจกรรมจะทำให้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความสัมพันธ์กันกับชุมชน และมีปฏิสัมพันธ์กันที่ดีมีความร่วมมือกัน เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาเด็กต่อไป(วิชาการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา บ้านและชุมชน) เด็กจะเห็นคุณค่าในตนเองพร้อมกับส่งเสริมพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน เช่น ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา พร้อมทั้งช่วยให้เด็กเตรียมพร้อมเข้าสังคมใหม่ๆให้เรียนรู้การปรับตัวเข้ากับสังคม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเมตตา กรุณาต่อกัน(ทักษะทางสังคมศึกษา และการจัดประสบการณ์) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จะจัดการศึกษาสำหรับผู้ปกครองทั้ง 3 ส่วน คือ จัดการศึกษาสำหรับผู้ปกครองโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม จะช่วยกระตุ้นกระบวนการคิด จัดการศึกษาสำหรับผู้ปกครองโดยใช้บ้านเป็นฐาน คือ การที่เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า หากผู้ปกครองมีความเข้าใจพัฒนาการและรู้วิธีการเรียนรู้ของเด็กจะทำให้ผลการเรียนรู้ของเด็กดีขึ้น จัดการศึกษาสำหรับผู้ปกครองโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน คือ ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม นำเด็กๆไปเรียนรู้นอกสถานที่ในแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยสอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget) ความสำคัญของความเป็นมนุษย์ อยู่ที่มนุษย์มีความสามารถในการสร้างความรู้ผ่านการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งปรากฏอยู่ในตัวเด็กตั้งแต่แรกเกิด ความสามารถนี้คือการปรับตัว (Adaptation) เป็นกระบวนการที่เด็กสร้างโครงสร้างตามความคิด (Scheme)สติปัญญา และเน้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและกล้ามเนื้อ โดยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งแวดล้อม 2 ลักษณะ คือ เด็กพยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยซึมซับประสบการณ์ (Assimilation) และการปรับโครงสร้างสติปัญญา ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทาของสกินเนอร์ (Burrhus Skinner) เขามีความคิดว่าทฤษฎีพฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์เป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนด และการตอบสนองขึ้นอยู่กับการเสริมแรง รวมทั้งปลูกพฤติกรรมบางอย่างและลดพฤติกรรมบางอย่าง
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5828 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5828