ข้าวมหัศจรรย์ สานสัมพันธ์ในชุมชน ( 571461321101)
สร้างโดย บ้านซำจำปา (จังหวัดมหาสารคาม)
ผู้จัดทำ นางสุกัญญา ชมชัยรัตน์
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย/แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการทำไร่อ้อยการทำนาข้าวผสมผสานกันไป การทำนาข้าวเป็นอาหารที่ล่อเลี้ยงชีวิตลูกหลานชาวไทยตั้งแต่สมัยโบราณจนมาถึงปัจจุบัน คนไทยและคนในชุมชนจึงมีความผูกพันในการทำนาข้าว แม้รายได้จากการขายข้าวจะน้อย แต่ชาวนาก็ยังมีความมุ่งหวังในการทำนาข้าว และผู้ปกครองชอบพูดอยู่เสมอว่า กินข้าวอย่ากินทิ้งกินขว้าง และเป็นคำพูดที่ติดปากกันมาบ่อยๆว่า "ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า ผู้คนอดอยาก มีมากหนักหนา สงสารชาวนา เด็กตาดำๆ" การทำนาข้าวแต่ละปีก็ไม่ได้มากนักเท่าที่ควรเพราะปีไหนที่ฝนดี ชาวนาก็จะได้ผลผลิตค่อนข้างมากทำให้มีข้าวเหลือกินตลอดทั้งปีบางครอบครัวก็แบ่งขายมีรายได้เข้ามาจุนเจือครอบครัว เด็กๆส่วนใหญ่ในชุมชนจะเรียนรู้ การทำนามาบ้างตามสภาพครอบครัวที่พ่อ แม่ ประกอบอาชีพการทำนาเป็นหลัก ประสบการณ์ของเด็กบางคนอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆก็มักจะลงไปเล่นน้ำโคลนในนากับพ่อ แม่ เพราะเมื่อถึงฤดูกาลดำนา หว่านกล้าเด็กๆจะตามผู้ปกครองไปที่ทุ่งนา ในวันหยุดเรียนทำให้เด็กได้เห็นและได้เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตของคนในบ้าน ในสังคม เกี่ยวกับการทำนาข้าว การสร้างทักษะของเด็กจะเริ่มต้นมาจากครอบครัว เด็กสามารถเรียนรู้และพัฒนาการต่างๆ มาจากบ้านในการใช้ชีวิตแบบชาวนาเราคอยส่งเสริมให้เด็กได้ร่วมลงมือทำเท่าที่เด็กช่วยได้ และที่สำคัญที่สุดที่พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรตระหนักคือ ผลที่เราทำนาข้าว เราสร้างเพื่อเป็นทักษะในการรับประทานอาหารเพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในเรื่องสุขอนามัยและการบริโภค ดังนั้นทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น บ้าน โรงเรียนและคนในชุมชน ก็จะมีการสร้างทักษะให้กับเด็กในการพาเด็กไปเรียนรู้สู่นาข้าวในทุ่งนา และการรับประทานอาหารร่วมกันที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเรา โดยมีผู้ประกอบอาหารคอยเสริมแรงและกระตุ้นให้เด็กได้ทานข้าวหมดจาน จากข้าวในทุ่งนาที่เด็กได้ศึกษาเรียนรู้นั้น ทำให้เด็กได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของข้าว ว่ามีประโยชน์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตมนุษย์เรามากน้อยเพียงใด หากไม่มีข้าวเราก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะไม่มีอาหารให้รับประทาน การกินข้าวแต่ละมื้อไม่ใช่แค่เพียงอร่อยและแค่อิ่มท้อง แต่การกินข้าวมีความหมายมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจและประเพณีไทย ข้าวไม่สามารถแยกออกจากประเพณีและการดำรงชีวิตของคนไทยได้เลยและเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ที่ดีเกิดจากการรับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งมีข้าวเป็นสื่อกลางด้วยดีเสมอมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทักษะชีวิต 1. เด็กรู้จักการสังเกต การวิเคราะห์ และการเห็นคุณค่าของข้าว 2. เด็กเกิดทักษะในการทานข้าวหรือการรับประทานอาหารในแต่ละวัน ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา บ้าน และชุมชน 1. เด็กได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิตในการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ 2. เด็กรู้จักช่วยกันแก้ไขปัญหาระหว่างการเดินทางไปทุ่งนา 3. การที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงและการรับประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ ทักษะด้านสังคมและการจัดประสบการณ์ 1. เด็กเกิดการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อคนในชุมชน 2. เด็กได้เรียนรู้ในการใ้ช้ชีวิตและการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น 3. ด้านการจัดประสบการณ์การที่เด็กได้ลงมือมีส่วนร่วมใน กิจกรรมทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เกิดเป็นทักษะในการปฏิบัติและสร้างเจตคติที่ดีต่อสิ่งนั้นๆ
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5825 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5825