บทความ ทำไมจึงต้องร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนาเด็ก เรื่อง ของเล่นพื้นบ้าน สานสัมพันธ์ชุนชน ตะเพียนน้อย ร้อยสายใยรัก
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลพนอม (จังหวัดมหาสารคาม)
ผู้จัดทำ นางสาวทิพพระจันทร์ ฝ่ายพนอม รหัส 571461321116
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีความร่วมมือระหว่างบ้าน,ศาสนา,การศึกษา,ภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชุมชน
บทความ ทำไมจึงต้องร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนาเด็ก เรื่อง ของเล่นพื้นบ้าน สานสัมพันธ์ชุนชน ตะเพียนน้อย ร้อยสายใยรัก ผู้เขียน นางสาวทิพพระจันทร์ ฝ่ายพนอม รหัส 571461321116 การสานปลาตะเพียนจากใบมะพร้าวเป็นของเล่นพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษา อนุรักษ์ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้านที่มีความสนุกสนานและให้ความรู้ สามารถนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กในยุคปัจจุบันได้อย่างเหมาะสมกับบริบทในชุมชนด้วยวัสดุที่ใช้ทำของเล่นพื้นบ้านเน้นที่การใช้วัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติที่หาได้เองรอบ ๆ บ้าน ข้อกังวลใจเรื่องอันตรายจากวัสดุที่ใช้ก็จะลดลงจากการเลือกใช้ของเล่นจากพลาสติก ของเล่นพื้นบ้านเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่หรือเด็กสามารถประดิษฐ์ได้เอง ซึ่งช่วยลดความสิ้นเปลืองจากการซื้อหาของเล่น ในช่วงเวลาการประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้านเองนั้นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้ใช้แรงกาย และสานสายใยแห่งความรัก เป็นของเล่นที่บูรณาการชีวิตพ่อแม่ลูกเข้าด้วยกัน ของเล่นพื้นบ้านของลูก สามารถนำไปสู่การสร้างสัมพันธภาพระหว่างลูกกับเพื่อนที่โรงเรียน และเพื่อนบ้าน ดังนั้น ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลพนอม จึงได้มีแนวความคิดนำ ของเล่นพื้นบ้าน สานปลาตะเพียนเรียนรู้ คู่ชุมชนเข้ามาเชื่อมโยงมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้าน ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้เด็กเกิดประสบการณ์เรียนรู้ทักษะชีวิต ทักษะสังคมและทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา บ้านและชุมชน อย่างสมบูรณ์แบบโดยเน้นชุมชนเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ผ่านของเล่นพื้นบ้านเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง ความเป็นมาของปลาตะเพียนใบมะพร้าว กิจกรรมในชั้นเรียน เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ประดิษฐ์ของเล่นจากใบมะพร้าวสานเป็นปลาตะเพียน ร่วมเล่นกับเพื่อนในชั้นเรียน โดยมีคุณยายทรงสมัย วิทยากรท้องถิ่นมาสอนการสานการสานปลาตะเพียนจากใบมะพร้าว วัสดุอุปกรณ์ 1. ใบมะพร้าว 2. กรรไกร ขั้นตอนการสานปลาตะเพียน นำใบมะพร้าวมาตัดเป็นเส้นยาว จำนวน 2 เส้น 2. นำใบมะพร้าวเส้นที่ 1 มาพันมือ 3. นำใบมะพร้าวพันได้แล้วดึงมือที่พันออก ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับไว้ 4. นำใบมะพร้าวใบที 2 มาพับครึ่งแล้วสอดเข้าไปในใบมะพร้าวที่พันไว้ในรอบแรก 5. เสร็จแล้วให้ใช้ใบมะพร้าวเส้นที่ 2 เส้นล่างสอดช่องใบมะพร้าวเส้นที่ 1 ห่วงแรก 6. กลับด้านหลังขึ้นมานำใบมะพร้าวเส้นที่ 2 ปลายด้านล่างสอดช่อง แล้วดึงจัดให้สวยงาม 7. ใช้กรรไกรตกแต่ง ครีบและหาง ประโยชน์จากของเล่นพื้นบ้านปลาตะเพียน 1.เด็กเรียนรู้ขั้นตอนการสานปลาตะเพียนจากใบมะพร้าว 2.เด็กได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 3.เรียนรู้การเลือกวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นของเล่น 4.เด็กได้ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กมือประสานสัมพันธ์กับตาในการสานปลาตะเพียน 5.เด็กเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน เชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ในชุมชน หมู่บ้านหนองสาหร่าย ตำบลพนอม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยมี พ่อแม่ผู้ปกครอง และครู มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการสานปลาตะเพียนจากใบมะพร้าวที่มีอยู่ในชุมชน จากเรื่อง ทำไมจึงต้องร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนา เรื่อง ของเล่นพื้นบ้าน ปลาตะเพียน เรียนรู้คู่ชุมชนสิ่งที่ได้รับจากการจัดการเรียนการสอน ทักษะชีวิต เด็กได้เรียนรู้การประดิษฐ์ของเล่นที่ทำจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว การนำสิ่งของที่เหลือใช้มาประดิษฐ์สานปลาตะเพียน ขั้นตอนการสานเด็กได้ทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมือและตาประสานสัมพันธ์กัน รู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมเมื่อทำงานเสร็จช่วยครูเก็บวัสดุอุปกรณ์ ทักษะทางด้านสังคมและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เด็กรู้จักการช่วยเหลือตนเองในการใช้เครื่องมือประดิษฐ์ของเล่นสานปลาตะเพียน การเล่นเป็นกลุ่มกับเพื่อน การมีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันอดทนและรอคอย ปฏิบัติตามคำสั่งของครูและผู้ปกครอง มีความรับผิดชอบทำงานที่ได้รับมอบหมาย มีมารยาทในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเห็นได้จากช่วงที่เด็กเล่นของเล่นการออกไปเรียนนอกสถานที่แหล่งเรียนรู้ในชุมชน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษาบ้านและชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนำเด็กออกไปเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน โดยมีผู้ปกครองผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนให้ความรู้เกี่ยวกับการประดิษฐ์ของเล่นสานปลาตะเพียนจากใบมะพร้าว และพูดถึงความหมายที่มาของเล่นพื้นบ้าน พ่อแม่ ผู้ปกครองได้ร่วมมือ ร่วมแรงกันสานปลาตะเพียนระหว่างการสานเป็นการสร้างความสัมพันธ์ เชื่อมสายใยรักให้กับครอบครัว ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สรุป ของเล่นพื้นบ้าน ปลาตะเพียนเรียนรู้คู่ชุมชน มีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยเพราะเด็กในวัยนี้จะมีความสุขสนุกสนานกับการเล่นในชีวิตประจำวัน ขณะที่เล่นนั้นเด็กได้ใช้อวัยะส่วนต่างๆของร่างกายถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกด้าน การเล่นของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง เด็กได้เล่นของเล่นชิ้นใหม่ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เด็กรู้จักการประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ เด็กเรียนรู้ทักษะชีวิตวิถีการดำรงชีวิตในชุมชน การสร้างสัมพันธภาพ การสื่อสารการมีทักษะทางสังคมการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนได้สัมผัสใกล้ชิดปู่ย่า ตายายในการสอนถ่ายทอดความรู้ให้ความรักความอบอุ่น ดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองในช่วงการสานปลาตะเพียน สร้างความภูมิใจให้กับเด็กเด็กมีวินัยและความรับผิดชอบ เอกสารอ้างอิง ที่มา : ปลาตะเพียนใบลาน http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=56652&begin=275 http://www.oknation.net/blog/think49/2009/08/31/entry-1การสัมภาษณ์ สัมภาษณ์ คุณยายทรงสมัย สอนตาง , แม่บ้าน, 13 กรกฎาคม 2559
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5821 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5821