ฟันสวยด้วยมือหนู
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกศิลา (จังหวัดมหาสารคาม)
ผู้จัดทำ ครู วนิดา ดวงเงิน
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
การแปรงฟันเด็ก การรักษาสุขภาพฟันควรได้รับการปลูกฝังอย่างเหมาะสม ตั้งแต่ช่วงขวบปีแรกของชีวิต ก่อน ที่ฟันน้ำนมของเด็กจะขึ้น คุณสามารถดูแลเหงือกของเด็กได้โดย การขัดถูเบาๆด้วยนิ้วที่สะอาด หรือใช้ผ้าที่นุ่มสะอาด หรือสำลีก้อนทำความสะอาด เมื่อเด็กอายุ ประมาณ 6 - 7 เดือน คุณควรนวดเหงือกให้เด็กเบาๆ ด้วยแปรงชนิดพิเศษสำหรับเด็ก ซึ่งแปรงชนิดนี้จะมีความคล้ายคลึงกับแปรงสีฟันปกติ แต่หัวแปรงเป็นยางที่ ถูกออกแบบมาพิเศษเพื่อกระตุ้นเหงือก และช่วยสร้างความคุ้นเคยให้กับเด็กในเรื่องการแปรงฟัน แปรง เด็กสำหรับฝึกหัดสามารถนำไปให้เด็กเคี้ยวเล่นได้ ก่อนฟันซี่แรกจะขึ้น แต่คุณต้องไม่ทิ้งเด็กไว้กับแปรงสีฟันตามลำพังโดยไม่ได้รับการดูแล เพราะว่าอาจมีโอกาสเสี่ยงที่เด็กจะเกิดสำลักจากการแปรงฟันได้ คุณ ควรเริ่มทำความสะอาดฟันลูกทันทีที่ฟันซี่แรกเริ่มขึ้น คุณต้องหัดแปรงฟันซี่แรกเบาๆ ด้วยผ้านุ่มๆ หรือสำลีก้อน เมื่อเด็กมีฟันซี่ที่ 2 หรือมากกว่านั้นให้ใช้แปรงสีฟันสำหรับเด็ก พร้อมกับแตะยาสีฟันขนาดเท่าเมล็ดถั่ว คุณควรปรึกษาทันตแพทย์ หรือกุมารแพทย์ก่อนการใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์กับเด็ก จำ ไว้ว่า ควรแปรงฟันเด็กอย่างเบาๆ เพราะว่า เหงือกของเด็กมีความอ่อนนุ่มและได้รับบาดเจ็บง่าย คุณควรแน่ใจว่าได้แปรงฟันลึกเข้าไปถึงด้านในของฟัน และไปถึงด้านหลังของฟัน กราม ขณะที่เด็กมีฟัน 1- 2 ซี่ ควรทำความสะอาดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง และเมื่อเด็กมีฟันมากขึ้น ควรแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง โดยให้ทำความสะอาดฟันหลังจากป้อนอาหารเสร็จแล้วทุกครั้ง และตอนกลางคืนน้ำเปล่าควรเป็นสิ่งเดียวที่เด็กจะดื่ม หลังแปรงฟันแล้ว การช่วยเด็กเล็กแปรงฟัน สอนให้ลูกรู้วิธีแปรงฟันเด็ก เล็ก โดยเฉพาะเด็กอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง จะมีฟันกรามน้ำนมขึ้นมาในช่องปาก ผู้ใหญ่ควรทำความสะอาดฟันโดยใช้แปรง สีฟันแปรงฟันให้เด็กเล็ก รวมทั้งสอนให้ลูกวีธีแปรงฟันและให้เด็กลองหัดแปรงฟันด้วยตนเองบ้าง โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุไม่เกิน 8 ปี ผู้ใหญ่ยังจำเป็นต้องแปรงฟันให้ เพราะเด็กยังมีพัฒนาการในการใช้มือไม่ดีพอ ถ้าเด็กมีความพร้อมดีก็จะสามารถแปรงฟันด้วยตนเองได้ สังเกตจาการที่เด็กผูกเชือกรองเท้าเป็น ผูกโบว์เองได้ หรือเด็กสามารถจับดินสอเขียนหนังสือได้บ้าง ก็แสดงว่าเด็กสามารถใช้มือแปรงฟันได้ดี ถึงแม้ว่าเด็กจะแปรงฟันเองได้แล้ว ผู้ใหญ่ก็ควรตรวจดูความสะอาดในการแปรงฟันของเด็กทุกครั้ง ปัญหาในการแปรงฟันเด็กเล็กเพราะ เด็กจะไม่ยอมแปรงฟันจะดิ้นตลอด คุณแม่อย่าเพิ่งหมดกำลังใจที่จะแปรงฟัน ให้ลูกมิฉะนั้นคุณแม่เองอาจพบว่าลูกมีฟันผุเกือบทุกซี่ คุณแม่ต้องทำใจแข็งไว้ ถึงแม้ลูกจะดิ้น ร้องไห้ ก็ปล่อยให้เขาร้องไห้ คุณแม่มีหน้าที่แปรงฟันลูกให้สะอาด วิธีทำให้ลูกยอมรับการแปรงฟันได้ผลดี คือ หลังจากที่ลูกแปรงฟันเสร็จแล้วคุณแม่ต้องให้รางวัลแก่ลูก ที่เขาแปรงฟันสะอาด เช่น คำชมเชย เล่านิทาน หรือเล่นเกมส์ก็ได้ ต่อไปในอนาคตเด็กก็จะมีฟันที่สวยและแข็งแรง และติดนิสัยที่จะแปรงฟันอีกด้วย การแปรงฟัน ในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 7 ปี ก่อน การแปรงฟัน ควรเลือกแปรงสีฟันให้เหมาะกับปากเด็ก ในการแปรงฟันเด็กเล็กนั้นควรใช้วิธีขยับไปมาสั้นๆ ในแนวนอน แบบถูไปมา โดยขนแปรงจะคลุมฟันประมาณ 2-3 ซี่ แปรงฟันให้ครบทุกซี่ทุกด้านของฟัน ในกรณีที่เด็กไม่ให้ความร่วมมือ ท่าที่เหมาะสมสำหรับการแปรงฟันในเด็กเล็ก คือ ผู้ใหญ่ควรนั่งอยู่ด้านหลังเด็ก ให้ศรีษะเด็กหนุนตักผู้ใหญ่ และใบหน้าของเด็กหันไปทางเดียวกับผู้ใหญ่ จะทำให้เด็กเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย ใช้นิ้วมือด้านที่ไม่ได้จับแปรงช่วยแหวกกระพุ้งแก้มเบาๆ ทำให้เห็นฟันบริเวณข้างแก้มได้ อาจนอนแปรงฟันบนพื้นเตียงได้ และถ้าฟันชิดกันแล้วควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดบริเวณซอกฟันด้วย ข้อควรระวังในการใช้ยาสีฟันในเด็ก พ่อแม่ควรบีบยาสีฟันให้เพียงเล็กน้อยการ ดูแลฟันเด็กจากการหมั่นแปรงฟันให้ลูก จะทำให้ลูกมีฟันดีได้ ในการแปรงฟัน ยาสีฟันเป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบันนี้ยาสีฟันที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจะมีสีกลิ่นและรสหอมหวาน เพื่อดึงดูดให้เด็กๆชอบ และรักการแปรงฟันบ่อยๆ มีผลดีต่อฟันก็จริง แต่ถ้าเด็กชอบกลืนยาสีฟันขณะแปรงฟัน หรือเด็กไม่สามารถบ้วนปากได้เด็กก็จะ กลืนยาสีฟัน ถ้าเป็นเช่นนี้ ฟันแท้ของเด็กที่ขึ้นภายหลังจะมีรอยขุ่นขาวไม่สวยงาม เป็นรอยด่างบนตัวฟันที่เรียกว่าฟันตกกระได้ ดังนั้นถ้าเด็กที่ยังเล็กพ่อแม่ควรบีบยาสีฟันให้เพียงเล็กน้อย ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว หรือน้อยกว่า แต่ถ้าเด็กยังควบคุมการกลืนยาสีฟันไม่ได้ ยังไม่แนะนำให้ใช้ยาสีฟัน ฟลูออไรด์ ฟลูออไรด์ เป็นแร่ธาตุมีหน้าที่เคลือบฟัน เพื่อทำให้ฟันแข็งแรงขึ้นและลดโอกาสฟันผุ รูปแบบของฟลูออไรด์มีมากมายที่นำมาใช้เพื่อป้องกันฟันผุ น้ำดื่มบางแห่งมีฟลูออไรด์ผสมอยู่ในระดับที่สามารถป้องกันฟันผุได้ บางครั้งทันตแพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ใช้ฟลูออไรด์เสริม (โดยปกติจะอยู่ในรูปของหยดน้ำ หรือ เป็นเม็ดฟลูออไรด์) แต่ห้ามคุณใส่ฟลูออไรด์เสริมเองลงในนม เนื่องจากนมจะไปยับยั้งการดูดซึมของฟลูออไรด์ยา สีฟันที่เพิ่มฟลูออไรด์ที่ช่วยป้องกันฟันผุนั้นพบว่า ฟลูออไรด์ที่เด็กได้รับอาจมากกว่าความจำเป็น โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ดังนั้น คุณควรปรึกษากับทันตแพทย์ เกี่ยวกับการใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์กับเด็ก
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5791 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5791