บทความ

สร้างโดย บ้านหนองลาด (จังหวัดมหาสารคาม)

ผู้จัดทำ นางสาววาสนา ชูเลิศ รหัส 338

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีความร่วมมือระหว่างบ้าน,ศาสนา,การศึกษา,ภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชุมชน



            เรื่อง ทำไมจึงต้องร่วมกันคิดร่วมกันพัฒนาเด็ก วาสนา ชูเลิศ เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตและพัฒนาการทุกด้าน เนื่องจากต้องการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวผ่านประสาทสัมผัสทั้งจาก พ่อ แม่ คนรอบข้าง ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ควรให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเกิดการเรียนรู้และซึมซับสิ่งดีดี(http://wanrak.blogspot.com/2008/01/blog-post_21.html)และจะส่งผลให้เด็กเกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของ บุคลิกภาพ อุปนิสัยและการเจริญเติบโต ทั้งร่างกายและจิตใจสมองสติปัญญาและความสามารถในการรู้จักแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ที่เผชิญญอยู่เพื่อให้เกิดความอยู่รอดปลอดภัย การปลูกฝังและสร้างทักษะชีวิตจึงควรปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติหรือเป็นวิธีการที่ทำให้เด็กสามารถปรับตัวและมีพฤติกรรมที่เหมาะสมขึ้นจากเดิม การอบรมปลูกฝังสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้กับเด็กปฐมวัยได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพ จะเป็นรากฐานที่ดีให้เขาเติบโตเป็นเยาวชนพลเมืองที่ดีมีความเฉลียวฉลาด คิดเป็น ทำเป็น และมีความสุข สามารถดำรงชีวิตได้และมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีทักษะในการใช้ชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณ เข้าใจตัวเองและผู้อื่นมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กในวัยนี้เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นบุคคลที่ดีมีคุณค่าต่อตนเองและสังคมต่อไป เด็กเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งเป็นความหวังของครอบครัว เป็นผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นมนุษยชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ อนาคตของประเทศชาติจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของเด็ก เด็กที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ มีพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ที่เหมาะสมกับวัย ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและจริยธรรม จะเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ(https://www.gotoknow.org/posts/143454) บทบาทของพ่อแม่ในการสร้างเสริมทักษะให้เด็กคือ เป็นแบบอย่างที่ดี ในการประพฤติปฏิบัติและชักนำให้ลูกเกิดการประพฤติปฏิบัติตาม พ่อแม่แสดงความรักและยอมรับลูก ครอบครัวมีความอบอุ่น เป็นมิตร ทำให้ลูกมีความปลอดภัย ทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ให้ลูกมีความเข้าใจในการพัฒนาทักษะตนเองที่จะช่วยให้ตนเองประสบความสำเร็จ และสามารถสร้างประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่นได้ต่อไป ปลูกฝังให้ลูกเกิดศรัทธาต่อตนเอง เสริมสร้างให้ลูกมีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบ เช่น รักษากฎกติกา มารยาทในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เห็นข้อดีของตัวเองที่น่าภาคภูมิใจ มีความสุข ความพอใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆ มีพฤติกรรมความเคยชินที่ดีในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างประณีต ละเอียดรอบคอบ เช่น การกิน การอยู่ การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย การจัดเก็บของใช้ส่วนตัวและส่วนรวม การรับประทานอาหาร เป็นต้น สร้างทักษะการเข้าใจตนเองและเข้าใจคนอื่น ให้ลูกได้ตระหนักรู้ว่าตนเองมีลักษณะเป็นอย่างไร มีความสามารถในด้านใดบ้าง ได้รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ตนเองชอบหรือไม่ชอบ และได้เรียนรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่เพื่อนชอบและไม่ชอบ เพื่อเป็นการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น เริ่มรู้จักการมีเหตุผล และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่ต่างไปจากตน รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ด้วยการฝึกให้ลูกทำงานบ้าน ให้ลูกเป็นผู้บริการผู้ใหญ่ในบ้าน เช่น เสิร์ฟน้ำ จัดโต๊ะอาหาร ทำอาหาร เลี้ยงน้อง รดน้ำต้นไม้ กรอกน้ำใส่ตู้เย็น เป็นต้น เสริมทักษะทางสังคม ทั้งการพูดสื่อสาร การรู้จักฟัง รู้จักขอบคุณขอโทษ ให้ลูกสามารถสื่อสารกับคนอื่นให้เข้าใจ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น สามารถรู้ว่า เมื่อไร อย่างไร กับใคร ควรจะสื่อสารอย่างไรจึงจะเป็นการสื่อสารที่ถูกกาลเทศะ สอนให้ลูกรู้จักฉลาดในสิ่งที่มากระทบ ฝึกให้ลูกรู้จักวิเคราะห์โฆษณาที่มีอยู่รอบตัวว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่าแท้หรือคุณค่าเทียม ทำอย่างไรลูกจึงจะรู้เท่าทัน รู้จักสำรวม ระวัง ไม่ลุ่มหลงมัวเมา ไม่ทำให้เกิดความทุกข์เดือดร้อนกับใคร นอกจากนี้พ่อแม่ควรให้ความสำคัญกับคุณธรรมและการรู้เท่าทันอารมณ์ แนะนำวิธีบริหารจัดการอารมณ์ต่างๆ รู้จักผ่อนคลายอารมณ์ พยายามฝึกละสิ่งที่ไม่ดี เพิ่มสิ่งที่ดี ปลูกฝังให้ลูกมีความเป็นห่วงเพื่อนมนุษย์ เป็นห่วงสิ่งแวดล้อม ประเทศชาติ และมีอุดมการณ์ในการช่วยเหลือคนอื่น และครูก็ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กได้เห็นได้ทำตาม โดยเป็นแบบอย่างในการพูด การประพฤติปฏิบัติ หรือยกตัวอย่างบุคคลสำคัญที่พบเห็นในชีวิตจริง ที่เด็กรู้จัก ให้เห็นถึงการกระทำที่น่ายกย่องหรือแบบอย่างที่ดีงาม จากสื่อต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะเป็นการกระตุ้น เป็นแรงเสริมให้เด็กสนใจและชักนำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติตามที่ดีต่อไป ให้เด็กได้ค้นหาลักษณะที่ภูมิใจ ฝึกให้เด็กคิดบวก มองตัวเองในทางที่ดี เห็นข้อดี เห็นความสามารถ สิ่งที่น่าภาคภูมิใจของตัวเอง ทั้งด้านการเรียน การเล่น การดูแลตนเอง การช่วยเหลือผู้อื่น โดยครูกำหนดพฤติกรรมและจัดเป็นกิจกรรมให้เด็กทำเป็นประจำ ด้วยความสนุกสนานจนปฏิบัติเป็นนิสัย และให้คำชื่นชม ให้กำลังใจ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ได้แก่ การวาดรูป เล่นดนตรี กีฬา การทำงานกับเพื่อน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน หรือการไปทัศนศึกษา เข้าค่ายพักแรม สิ่งเหล่านี้ล้วนฝึกให้เด็กเกิดการเรียนรู้ จากการกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง และทำให้สำเร็จ เด็กได้แสดงความคิดเห็น ตัดสินใจแก้ไขปัญหา ทำให้เห็นความสามารถของตนเอง เห็นคุณค่า และเกิดความภูมิใจในตนเอง ส่งเสริมให้เด็กมีวิธีสร้างความสุขให้กับตนเอง เสริมสร้างทักษะทางร่างกายของเด็ก ให้ใช้อวัยวะต่างๆ (เช่น มือ เท้า แขน ขา ฯลฯ) อย่างคล่องแคล่วฉับไว ทำในสิ่งที่ชอบ/รัก เช่น เลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง เล่นดนตรี เล่นกีฬา เล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่ม ปล่อยให้เด็กเพลิดเพลินกับการแสวงหาคำตอบด้วยตัวเองผ่านการเล่น ทั้งการเล่นอย่างมีแบบแผน กติกา และการเล่นอิสระตามจินตนาการ รวมถึงการเล่นกีฬาในร่ม การดูโทรทัศน์และอ่านหนังสือ ล้วนแล้วแต่เป็นการผ่อนคลายความเครียด และให้ประโยชน์ต่อเด็กอย่างมาก แต่ครูควรจัดเวลาให้พอเหมาะ ไม่หมกมุ่นจนทำให้เสียสุขภาพ เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมกลุ่มบ่อยๆ เป็นการเสริมสร้างทักษะการเข้าใจตนเองและเข้าใจคนอื่น ให้เด็กได้ตระหนักรู้ว่าตนเองมีลักษณะเป็นอย่างไร มีความสามารถในด้านใดบ้าง ได้รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ตนเองชอบ/ไม่ชอบ ขณะเดียวกันได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่เพื่อนชอบ/ไม่ชอบ เรียนรู้ที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ครูควรจัดโครงงานที่เป็นประโยชน์ต่อเด็ก ส่งเสริมให้เด็กอาสาเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของโรงเรียน มีส่วนร่วมรับผิดชอบทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ปลูกต้นไม้ในโรงเรียน เก็บใบไม้ เศษกระดาษบริเวณสนาม ทำความสะอาดห้องเรียน ช่วยกันประหยัดน้ำไฟ อนุรักษ์ต้นไม้ ธรรมชาติ ไม่ทำร้ายสัตว์ ปฏิบัติตนให้มีระเบียบวินัย เป็นลูกศิษย์ เป็นนักเรียนที่ดีของครู เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน ให้เขารู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญต่อบุคคลอื่น ทั้งได้รับการชื่นชมยอมรับ และให้เกียรติยกย่อง นับถือผู้อื่น(http://taamkru.com/th/สอนลูกให้มีทักษะชีวิต/) และชุมชนเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างในการมีส่วนร่วนพัฒนาเด็กก็คือ ชุมชนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา บ้าน และชุมชน เพื่อร่วมมือในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นหัวใจของการจัดการศึกษา ซึ่งสามารถจัดในรูปของกิจกรรมของสถานศึกษาและให้ บ้าน และชุมชนเข้าไปมี ส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ หรือบ้านและชุมชนเป็นผู้จัดกิจกรรม และสถานศึกษาเข้าไปร่วมในกิจกรรมของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยรูปแบบกิจกรรมจะเปิด โอกาสให้แต่ละฝ่ายมีส่วนนร่วมในกิจกรรมของแต่ละฝ่ายเพื่อให้สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และมีส่วนนร่วมในการพัฒนาชุมชน เช่นเดียวกัน สถานศึกษาเปิดโอกาศให้ชุมชนมีส่วนร่วมในพัฒนาการจัดการศึกษาโดยมีการร่วมกัน ในรูปแบบต่างๆ อาทิ การให้ข้อเสนอแนะด้านนโยบายของสถานศึกษาท่ีเก่ียวข้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชนและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนางานของสถานศึกษา อาทิเช่น การนำชุมชนมามีส่วนร่วมใน กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น การนำภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาเด็ก การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน และชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่ดีให้กับเด็ก เช่นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น(การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา บ้าน และ ชุมชน.แผนการสอน. สัปดาห์ที่2. หน้าที่ 3-4.) ดังนั้นการส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับเด็กให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพจนกลายเป็นสุขนิสัยที่ดีติดตัวเด็กเช่น การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตัวเอง การพูดคุยติดต่อสื่อสารและการปรับตัวกับคนอื่น ครู พ่อ แม่ ผู้ปกครองและชุมชนควรมีความรู้ความเข้าใจร่วมมือกันในการพัฒนาเด็กให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันให้เด็กมีทักษะชีวิตมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเองและแก้ปัญหาอุปสรรคที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้โดยมีการปรับตัวไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5788 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5788