ภูมปัญญาไทยกับการส่งเสริมการเรียนรู้
สร้างโดย บ้านนาสีนวล (จังหวัดมหาสารคาม)
ผู้จัดทำ นางสาวชัชฎา สิมะเดชาชาติ
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมการเรียนรู้และการสร้างอาชีพ ครูภูมิปัญญาไทยทั้ง 9 ด้านได้แก่ ด้านเกษตรกรรม ด้าน-อุตสาหกรรมและหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการมีส่วนในการส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่การช่วยเป็นวิทยากร เป็นแหล่งศึกษาดูงาน ส่งเสริมการประกอบอาชีพ ได้แก่ช่วยฝึกอบรมอาชีพและช่วยแนะนำการหารายได้เสริม อีกประการหนึ่งคือรูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยมีหลายลักษณะหลายวิธีการผสมผสานกัน ได้แก่ การอธิบาย การสาธิต และฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง ส่วนแนวทางเพื่อให้ครูภูมิปัญญาไทยได้ส่งเสริมการเรียนรู้ในระบบ การเรียนรู้นอกระบบ และการเรียนรู้ตามอัธยาศัยได้แก่ กำหนดให้มีหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย และส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนโดยช่วยฝึกอบรมอาชีพ และเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งทางด้านตำรา วัสดุของจริง และการให้สัมภาษณ์และอีกกิจกรมที่ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดทำขึ้นคือโครงการทำขนมเทียนโดยมีผู้ปกครองมาเป็นวิทยากร และมีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมวัฒธรรมโดยการพาเด็กไปวัดทำบุญ ถึงเวลายกเครื่องครู ในปี พ.ศ. 2556 จากการสำรวจของ WEF: World Economic Form พบว่าการศึกษาของไทยอยู่ในอันดับ 78 ของโลก และอันดับ 8 ของอาเซียน คุณภาพของระดับประถมศึกษาอยู่ในอันดับ 86 ของโลก อันดับ 7 ของอาเซียน สาเหตุที่คุณภาพการศึกษาไทยตกตำ่นั้นประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ครูปล่อยปะละเลยหน้าที่ เพราะมัวแต่สนใจประโยชน์ส่วนตน นโยบายที่ไม่ชัดเจนทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติ และด้านระบบการศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐาน แนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤติการศึกษาไทยตกตำ่ ได้แก่ 1. คิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ปัญหาให้ชัดเจน 2. กำหนดนโยบายให้ชัดเจนเพื่อที่นำไปปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน 3. ครูผู้ปกครองและสถานศึกษาต้องปรับกระบวนการสอนใหม่ โดยที่แต่ก่อนเน้นการบรรยายก็ให้ปรับเปลี่ยนเป็นเน้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากสิ่งรอบตัว และให้ครูทำหน้าที่คอยชี้แนะ 4. ครูต้องมีความมุ่งมั่นตื่นตัวที่จะทำจริงจัง 5. ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนทุกอย่างเพื่อให้ครูเกิดการเปลี่ยนแปลง 6. กระทรวงศึกษาธิการต้องปรับระบบการบริหารบุคคลใหม่ให้เป็นการบริหารงานเชิงรุก
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5787 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5787