การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น "เครื่องปั้นดินเผา" สาระการเรียนรู้ย่อย "ดินดีศรีอีสาน"
สร้างโดย บ้านดงเจริญ ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (จังหวัดอุดรธานี)
ผู้จัดทำ อำพร บุตรอุดม
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
เครื่องปั้นดินเผามีความผูกพันกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์ได้ใช้เครื่องปั้นดินเผามาใช้สอยในชีวิตประจำวันบรรจุอาหารและสิ่งของ เครื่องปั้นดินเผาของจังหวัดอุดรธานีที่เด็กคุ้นเคยและเห็นบ่อยๆคือเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนของข้าพเจ้าจึงนำเอาสื่อการสอนที่มีในท้องถิ่นมาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสำหรับครูปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น โดย อ.นิศารัตน์ อิสระมโนรสและคณะ ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเราได้รับเลือกให้เป็นศูนย์ร่วมมือในการทำการวิจัยสื่อในครั้งนี้เป็นเวลา 3 สัปดาห์ รายละเอียดการใช้แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อ คือ 1.สาระการเรียนรู้ย่อย ดินดีศรีอีสาน 2.สาระกรเรียนรู้ย่อย ก่องข้าวน้อยบ้านเฮา 3.สาระการเรียนรู้ย่อย ผ้าไทยอีสาน (ผ้าซิ่น) สาระการเรียนรู้ทั้งหมดประโยชน์ที่เด็กได้รับคือ สามารถพัฒนาเด็กได้ทั้ง 4 ด้านไปพร้อมกัน คือด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญยามีคุณธรรมจริยธรรม ในกรดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5658 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5658