การจัดประสบการณ์ด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 571461321197
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาว (จังหวัดมหาสารคาม)
ผู้จัดทำ นางประภาภรณ์ ก้อนฆ้อง 571461321197
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษา จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อน เพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐาน ทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ หรือตามหลักไวยกรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ การจัดประสบการณ์เพื่อการพัฒนาด้านภาษาของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาวจัดขึ้นโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางซึ่งมีกิจกรรมต่าง เช่นกิจกรรมการเล่านิทาน. กิจกรรมร้อยลูกปัด กิจกรรมการเล่นตามมุมต่างๆ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเต้นประกอบเพลงและกิจกรรมอื่นๆอีกมามายซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาทั้งนั้นจากกิจกรรมเหล่านี้เด็กจะได้สื่อสารพูดคุยระหว่างเพื่อนและครู. การสนทนาถามตอบต่างๆ กิจกรรมต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาเหมาะสมขึ้นตามวัย การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กจึงควรกำหนดให้ครอบคลุมทั้งภาครับซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้ในการทำความเข้าใจ และภาคส่งซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้หรือแสดงออก (Wortham, 1996: 235) ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในภาครับและภาคส่ง (Morrow, 1989: 51-52) สรุปได้ดังนี้ 1. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาครับ 1.1 เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษา 1.2 เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา 1.3 เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน 1.4 เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ 1.5 เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด 1.6 เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง 2. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง 2.1 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ในพัฒนาการขั้นใดก็ตาม โดยได้รับกำลังใจ และการยอมรับนับถือต่อความต้องการในการสื่อสารของเด็กเอง 2.2 เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง 2.3 เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม 2.4 เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตามระดับพัฒนาการ 2.5 เด็กได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ ประเภท ทั้งคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ใช้วลี หรือใช้ประโยค 2.6 เด็กมีโอกาสพูดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ 2.7 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น อาจเป็นการใช้ภาษาเพื่อการแก้ปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การสรุปหรือการทำนายเหตุการณ์ 2.8 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ เช่น ใช้ภาษาในการอธิบายขนาด ปริมาณ เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่ หรือแสดงเหตุผล
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5356 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5356