หน่วยสิ่งแวดล้อมรอบตัว(ผักปลอดสารพิษ)

สร้างโดย ศพด.บ้านหนองไทร (จังหวัดสระแก้ว)

ผู้จัดทำ นางสาวอรสา ตระกูลสา

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ



            หน่วย สิ่งแวดล้อมรอบตัว (ศึกษาผักปลอดสารพิษ) วันนี้ได้พาเด็กออกไปศึกษานอกสถานที่โดยไปดูผักปลอดสารพิษของคุณยายเป้าที่ปลูกผักสวนครัวโดยวิธีธรรมชาติไม่ใช้สารพิษ เด็กได้เรียนรู้นอกสถานที่มีความตื่นเต้นในการเรียนรู้ ได้รู้ประโยชน์ของผักต่าง เช่น ผักบุ้ง ผักชีล้อม ผักคะน้า บวบ ผักชีล้อม ชื่อสามัญ Water dropwort, Oenanthe ผักชีล้อม ชื่อวิทยาศาสตร์ Oenanthe javanica (Blume) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Oenanthe stolonifera Wall. ex DC) จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE) ผักชีล้อม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักอัน ผักอันอ้น ผักอันอ้อ ผักผันอ้อ จีอ้อ ผักหนอกช้าง จุ้ยคึงไฉ่ (จีน) เป็นต้น พืชผักชีล้อม จัดเป็นเครื่องเทศที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว ในปัจจุบันก็เป็นที่รู้กันทั่วโลก ในช่วงหนึ่งเคยมีความสับสนในเรื่องของชื่อผักชีล้อม บ้างก็เรียกผักชีล้อมว่าผักชีฝรั่ง บ้างก็เรียกว่ายี่หร่า แต่เพื่อความเป็นกลางแล้ว กรมวิชาการเกษตรจึงได้มีการประกาศไว้ในบัญชีแนบท้าย ประกาศกรมวิชาการเกษตร ในเรื่องทะเบียนพันธุ์พืชในประเทศไทย กำหนดให้เรียกผักชนิดนี้ว่า “ผักชีล้อม” ซึ่งเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาไทย อันหมายถึง Fennel ในชื่อภาษาอังกฤษ สรรพคุณของผักชีล้อม เชื่อว่าการรับประทานผักชีล้อมจะช่วยบำรุงรักษาสายตา และช่วยรักษาโรคตา (ทั้งต้น) ผลหรือเมล็ดผักชีล้อม เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่น ช่วยขจัดความเย็น ปรับการไหลเวียนของพลังลมปราณ ปรับสมดุลให้ระบบทางเดินอาหาร (มักใช้ในการรักษาอาการปวดท้องน้อย ปวดประจำเดือน และอาการท้องอืดท้องเฟ้อ) (ผล)ผักชีล้อมมีรสเผ็ดขมเล็กน้อย และมีกลิ่นหอมเฉพาะช่วยให้เจริญอาหาร (ทั้งต้น)สรรพคุณผักชีล้อม 1.ช่วยบำรุงปอด (ผล) 2.ช่วยบำรุงหัวใจ (ทั้งต้น) 3.ช่วยบำรุงเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) 4.ผักชีล้อมสรรพคุณทางยาช่วยดับพิษในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) 5.ผักชีล้อม สรรพคุณช่วยแก้ธาตุพิการ (ผล) 6.ช่วยแก้อาหารหืดหอบ แก้อาการไอ (ผล) 7.ช่วยขับเสมหะ (ทั้งต้น) 8.ช่วยแก้อาการเจ็บคอ (ต้น) 9.ช่วยแก้ลมวิงเวียน แกลมทำให้สะอึก (ผล) 10.ช่วยขับเหงื่อ ด้วยการใช้เป็นส่วนผสมในตำรายาอาบหรืออบสมุนไพร (ทั้งต้น) 11.ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (ผล) 12.ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ (ทั้งต้น) 13.ช่วยในการย่อยอาหาร (ผล) 14.ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดแก๊สส่วนเกินที่เกิดขึ้นในร่างกาย (ผล,ทั้งต้น) 15.ช่วยขับลมในลำไส้ ทำให้ผายเรอ (ผล) 16.ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย ด้วยการใช้เป็นส่วนผสมในตำรายาอาบหรืออบสมุนไพร (ทั้งต้น) 17.สุมนไพรผักชีล้อม ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้อาการบวม และแก้เหน็บชา ด้วยการใช้เป็นส่วนผสมในตำรายาอาบหรืออบสมุนไพร (ทั้งต้น) ผักบุ้ง ผักบุ้ง ชื่อสามัญ Swamp Morning Glory, Thai Water Convolvulus, Morning glory, Water spinach, Water morning glory, Swamp cabbage ผักบุ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea aquatica Forssk. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ipomoea reptans Poir.) จัดอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE) ผักบุ้ง มีชื่อเรียกอื่นว่า ผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริง ๆแล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ ๆ ประโยชน์ของผักบุ้ง ประโยชน์ของผักบุ้งข้อแรกคือมีส่วนช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัยความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดหรือลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็งได้ ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อย ๆ ช่วยบำรุงธาตุ สรรพคุณของผักบุ้งต้นสดของผักบุ้งใช้เป็นยาดับร้อน แก้อาการร้อนใน ต้นสดของผักบุ้งช่วยในการบำรุงโลหิต ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น ยอดผักบุ้งช่วยแก้โรคประสาท ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมาก (รากผังบุ้ง) มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยแก้อาการเหงือกบวม ช่วยรักษาแผลร้อนในในปาก ด้วยการนำผักบุ้งสดมาผสมเกลืออมไว้ในปากประมาณ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง ฟันเป็นรูปวด ให้ใช้รากสด 120 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู คั้นเอาน้ำมาบ้วนปาก ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง (รากของผังบุ้ง) แก้เลือดกำเดาไหลออกมากผิดปกติ ด้วยการใช้ต้นสดมาตำผสมน้ำตาลทรายแล้วนำมาชงน้ำร้อนดื่ม ใช้แก้โรคหืด (รากของผังบุ้ง) ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารจากผลของยาแอสไพริน ช่วยป้องกันโรคท้องผูก ยอดผักบุ้งมีส่วนช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ ช่วยทำความสะอาดของเสียที่ตกค้างในลำไส้ ผักบุ้งจีนมีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลือง ช่วยแก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายออกมาเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม ช่วยแก้หนองใน ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นสด 1 กิโล / น้ำ 1 ลิตร นำมาต้มให้เละเอากากทิ้งแล้วใส่นำตาลทรายขาว 120 กรัม แล้วเคี่ยวจนข้นหนืด ทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ช่วยแก้อาการตกขาวมากของสตรี (รากของผังบุ้ง) ผักบุ้งรสเย็นมีสรรพคุณช่วยถอนพิษเบื่อเมา รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนมีสรรพคุณช่วยถอนพิษสำแดง ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ผังบุ้งไทยต้นขาว) ดอกของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน ใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ผังบุ้งไทยต้นขาว) แก้แผลมีหนองช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดต้มน้ำให้เดือดนาน ๆ ทิ้งไว้พออุ่นแล้วเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง ช่วยแก้พิษตะขาบกัด ด้วยการใช้ต้นสดเติมเกลือนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยลดการอักเสบ อาการปวดบวม ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด หรือผู้ที่ได้รับสารพิษต่าง ๆเช่น เกษตรกร เป็นต้น นำมาใช้ในการประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะสุก ผัก แกง ดอง ได้หมด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ส้มตำ แกงส้ม แกงเทโพ ยําผักบุ้งกรอบ เป็นต้น ผักบุ้งนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เหมือนกัน เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น (มีหลายคนเข้าใจผิดว่ากระต่ายชอบกินผักบุ้ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เพราะผักบุ้งมียาง ยกเว้นกระต่ายโตถ้าจะให้กินไม่ควรให้บ่อยและให้ทีละนิด) ผักบุ้ง ประโยชน์ ข้อสุดท้ายนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผักบุ้งแคปซูล ผงผักบุ้ง เป็นต้น ประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการปฎิบัติกิจกรรมครั้งนี้ 1.เด็กได้รับความรู้เรื่องผักสวนครัว ผักปลอดสารพิษ 2.เด็กได้มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมนอกสถานที่มากขึ้น 3.เด็กสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆที่ไปพบเห็นมาให้เพื่อนและครูฟังได้ 4.เด็กกล้าแสดงออกมากขึ้น 5.เด็กมีปฎิสัมพัน์กับบุคคลอื่นที่นอกจากครูและเพื่อนร่วมห้อง 6.เด็กมีความสุขที่ได้ไปศึกษานอกห้องเรียน

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5315 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5315