โครงการสิทธิของหนู
สร้างโดย รร.บ้านวังจั่น (จังหวัดสระแก้ว)
ผู้จัดทำ นางสาวภณิดา ธรรมมา
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
ชื่อโครงการ “สิทธิของหนู เลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ภายใต้บริบทพหุวัฒนธรรม ” เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและเด็ก มีความตระหนักและรู้จักเลือกบริโภคอาหารได้อย่างฉลาด มีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องเหมาะสมโดยให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา"โครงการอาหารดี มีในชุมชน ส่งเสริมพัฒนาการ 4 ด้าน" จึงเป็นช่องทางที่เหมาะสมในการกระจายข่าวสารเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคที่ดีต่อสุขภาพไปยังผู้ปกครองและชุมชน โครงการ “สิทธิของหนู เลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ภายใต้บริบทพหุวัฒนธรรม” ชื่อโครงการ “สิทธิของหนู เลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ภายใต้บริบทพหุวัฒนธรรม ” 2. ผู้รับผิดชอบโครงการ 1)นางสาวสายฝน ลมพัด รหัส 571261321112 ศพด.โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส 2)นางสาวกมลชนก อำนวย รหัส 571261321113 ศพด.โรงเรียนบ้านบะขมิ้น 3)นางสาวสุภาพร ทรงบัณฑิตย์ รหัส 571261321114 ศพด.โรงเรียนบ้านลุงพลู 4)นางสาวภณิดา ธรรมมา รหัส 571261321115 ศพด.โรงเรียนบ้านวังจั่น 5)นางสาวภาพร กุระพอง รหัส 571261321116 ศพด.โรงเรียนสามัคคีประชาสรรค์ 6)นางสาววิยะดา โถแพงจันทร์ รหัส 571261321117 ศพด.โรงเรียนสามัคคีประชาสรรค์ 7)นางสาวสุพิชฌาย์ โพธิ์แดง รหัส 571261321118 ศพด.บ้านท่ากะบาก 8)นางสาวสุกัญญา เจิ้นสว่าง รหัส 571261321119 ศพด.บ้านหนองเตียน 9)นางสาวปาลิตา มัฐผา รหัส 571261321120 ศพด.บ้านหนองเตียน 3. หลักการและเหตุผล ปฏิญาณสากลว่าด้วยสิทธิเด็กและเยาวชนขององค์กรสหประชาชาติ "ข้อ 4 เด็กและเยาวชนพึงได้รับความมั่นคงทางสังคมและเติบโตอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นทั้งแม่และเด็กควรได้รับความดูแลและคุ้มครองเป็นพิเศษทั้งเมื่ออยู่ในครรภ์และภายหลังเมื่อคลอดแล้ว โดยได้รับสิทธิในเรื่องที่อยู่อาศัย ได้รับอาหาร ได้รับการดูแลทางแพทย์และโดยเฉพาะเด็กๆให้ได้รับการเล่นรื่นเริงเพลิดเพลินด้วย" รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 "มาตรา 52 เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ..." พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2540 "มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสิทธิของแม่และเด็กที่ได้รับความคุ้มครองตั้งแต่อยู่ในครรภ์และหลังคลอด สิทธิในการศึกษา ต้องเป็นเป็นอย่างสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมในการดำรงชีวิต อาหารจึงถือปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย และอาหารปลอดภัยที่เด็กปฐมวัยบริโภคนั้น ต้องปราศจากเชื้อโรค หรือปนเปื้อนจากเชื้อโรคทางเดินอาหารและสารเคมี ดังนั้นเพื่อให้เด็กปฐมวัยได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยจึงต้องมีระบบกำกับดูแล ควบคุม ตรวจสอบคุณภาพและการสื่อสารข้อมูลข่าวสาร ให้ความรู้แก่พ่อ แม่ ผู้ปกครองในระบบความปลอดภัยของอาหารที่ผลิต/จำหน่าย ทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่อาหารตั้งแต่วัตถุดิบ(การเพาะปลูก เพาะเลี้ยง) การผลิต การแปรรูป การจัดจำหน่าย จนถึงผู้บริโภคอาหารซึ่งปัจจัยความสำเร็จของการสร้างอาหารปลอดภัยคือทัศนคติและความตระหนักในการเลือกบริโภคและผลิต/จำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยมีคุณค่า การปลูกฝังทัศนคติและความตระหนักในอาหารปลอดภัยควรเริ่มตั้งแต่ครอบครัวโดยเฉพาะผู้ที่เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งในการเลือกอาหารให้ครอบครัวและควรเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษตลอดจนขนมที่เด็กรับประทาน พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องดูแลเป็นอย่างดี หากเด็กได้รับสารอาหารที่ไม่ดีหรืออาหารที่ไม่เพียงพอต่อร่างกายย่อมส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน ได้แก่1.ด้านร่างกาย 2.ด้านอารมณ์-จิตใจ 3.ด้านสังคม 4.ด้านสติปัญญา ตามมา ดังนั้นการดูแลด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมตามวัยจะช่วยให้พัฒนาการและการเตรียมความพร้อมของเด็กให้เป็นไปอย่างราบรื่น เนื่องจากร่างกายสามารถทำงานตามหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ภาวะโภชนาการจึงเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์หรือความบกพร่องทางด้านสุขอนามัยของเด็กได้เด็กจะเติบโตได้ไม่เต็มที่ แนวคิดและทฤษฎีของ ฌอง จาค รุสโซ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กในช่วงวัยแรกของชีวิตโดยชี้ให้เห็นถึงวิธีการเลี้ยงดูเด็กให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เขามีความคิดว่าหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ของการศึกษาคือการค้นให้พบธรรมชาติของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมชาติที่ปรากฏอยู่ในตัวเด็กและมีการประคับประคองให้มีการดำเนินไปอย่างถูกวิธี รุสโซ เน้นความสำคัญของเด็กในแง่ของความเป็นมนุษย์ เขามีความเข้าใจในตัวเด็กมองเด็กว่ามีการเจริญเติบโตอย่างเป็นขั้นตอน แต่ละขั้นตอนของพัฒนาการจะมีการเรียงลำดับต่อเนื่อง อาจเรียกได้ว่ารุสโซเป็นต้นกำเนิดของจิตวิทยาเด็ก(early childhood education)ในขั้นแรกของการพัฒนาการจะเป็นช่วง 5 ปีแรกของชีวิต การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงโดยการลงมือปฏิบัติ ดังนั้นการกระตุ้นให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและเด็ก มีความตระหนักและรู้จักเลือกบริโภคอาหารได้อย่างฉลาด มีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องเหมาะสมโดยให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา"โครงการอาหารดี มีในชุมชน ส่งเสริมพัฒนาการ 4 ด้าน" จึงเป็นช่องทางที่เหมาะสมในการกระจายข่าวสารเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคที่ดีต่อสุขภาพไปยังผู้ปกครองและชุมชน 4. วัตถุประสงค์ 1)เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารให้ถูกหลักอนามัย 2)เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปประกอบอาหารให้แก่เด็กได้รับประทานที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกสุขลักษณะ 3)เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในคุณค่าของอาหารพื้นบ้านที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นและด้านการบริโภคและด้านโภชนาการที่ถูกต้องตามสิทธิของเด็ก 5. เป้าหมาย เชิงคุณปริมาณ จำนวน 35 คน ประกอบด้วย -ผู้ปกครองเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านลุงพลู จำนวน 25 คน -ผู้ปกครองในชุมชนที่สนใจ จำนวน 10 คน เชิงคุณภาพ -ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจร้อยละ 80 -ผู้ปกครองมีความพึ่งพอใจในโครงการ ร้อยละ 80 -ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 80 6. วิธีดำเนินการ 1)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 2)ประชุมวางแผนการดำเนินงาน ร่วมกับผู้ปกครองและคณะกรรมการศูนย์ 3)จัดทำแผนการดำเนินงาน 4)เสนอขออนุมัติจากผู้บริหาร 5)ประชุมผู้ปกครอง คณะกรรมการศูนย์เพื่อรวมการจัดกิจกรรมในหัวข้อ "อาหารดีมีในชุมชน ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน" 6)ประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง เพื่อร่วมกิจกรรมอาหารดีมีในชุมชน ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา 7)ดำเนินกิจกรรมอาหารดีมีในชุมชนส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 7.1.กิจกรรมพูดเสียงตามสายทุกเช้าในห้วข้ออาหารดีมีประโยชน์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง 7.2.จัดบอร์ดเกี่ยวกับอาหารดีมีประโยชน์ และอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชน และในศูนย์เด็กเล็ก 7.3.จัดบอร์ดรายการอาหารที่มีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยและการรับประทานอาหารของแต่ละท้องถิ่น 7.4.ผู้ปกครองและเด็กร่วมกันรับฟังการบรรยายวิธีการปลูกผักสวนครัว และนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกที่บ้าน 7. ระยะเวลาดำเนินการ กันยายน-พฤศจิกายน 2558 8. สถานที่ดำเนินการ -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านลุงพลู หมู่ 4 ตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000 9. งบประมาณ -ค่าตอบแทนวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปลูกผักสวนครัวชั่วโมงละ 600 บาท วันละ 3 ชั่วโมง จำนวน 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท -ค่าอาหารกลางวัน คนละ 50 บาท จำนวน 35 คน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,750 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 25 บาท จำนวน 35 คน 1 มื้อ เป็นเงิน 875 บาท -ค่าเมล็ดพันธุ์ คนละ 20 บาท จำนวน 35 คน เป็นเงิน 700 บาท -ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เป็นเงิน 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 6,325 บาท หมายเหตุ : ถัวเฉลี่ยทุกรายการ 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1)ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก 2)ผู้ปกครองพึงพอใจในโครงการ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารให้ถูกหลักอนามัย การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ 3)ผู้ปกครองนำความรู้ไปใช้ในการดูแลด้านโภชนาการที่ถูกต้องตามสิทธิของเด็กที่ควรได้รับตามความเหมาะสมกับวัยของเด็ก 11. การประเมินโครงการ 1)แบบสอบถาม -ด้านความรู้และความเข้าใจ -ด้านความพึงพอใจ -ด้านการนำความรู้ไปใช้ ลงชื่อ ...........................................ผู้เสนอโครงการ (นางสาวสุพิชฌาย์ โพธิ์แดง) ลงชื่อ.................................................ผู้อนุมัติโครงการ (นายสมโชค เคลือบคลาย) นายกองการบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม วันที่.........................เดือน...............................................................พ.ศ.2558 ข้อชี้แจง กรุณาทำเครื่องหมาย/ลงในข้อที่ตรงกับความเป็นจริงและในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุด ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 1. เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง 2. อายุ ( ) ต่ำกว่า 20 ปี ( ) 21 - 40 ปี ( ) 41 – 60 ปี ( ) 60 ปีขึ้นไป 3. ระดับการศึกษาสูงสุด ( ) ประถมศึกษา ( ) มัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย/เทียบเท่า ( ) ปริญญาตรี ( ) สูงกว่าปริญญาตรี 4. สถานภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ( ) ผู้ปกครองเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ( ) ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ( ) อื่นๆ โปรดระบุ ………………………………………....................... ตอนที่ 2 ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตอนที่ 3 ปัญหา / ข้อเสนอแนะ ปัญหา 1. .................................................................................................................... 2. .................................................................................................................... 3...................................................................................................................... ข้อเสนอแนะ 1. .................................................................................................................... 2. .................................................................................................................... 3...................................................................................................................... ขอขอบคุณในความร่วมมือที่ท่านได้เสียสละเวลาทำแบบสอบถามในครั้งนี้
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5272 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5272