กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และกิจกรรมเสริมประสบการณ์
สร้างโดย นางสาววิมาลัย ประนิสอน (จังหวัดฉะเชิงเทรา)
ผู้จัดทำ นางสาววิมาลัย ประนิสอน
ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่าง กายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง จังหวะ และทำนอง คำคล้องจอง หรือเครื่องดนตรีประกอบ การเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีความสำคัญและความเป็นมาอย่างไร? ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยจะเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อใช้พลังกายและถ่ายพลังที่มีอยู่ล้นเหลือออกมา แต่ในขณะเดียวกันร่างกายและจิตใจของเด็กจะสมบูรณ์จากการเคลื่อนไหว ดังนั้น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงได้รับการจัดเป็นกิจกรรมหลักเพื่อพัฒนาเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีผลต่อการพัฒนาการเด็ก ดังนั้นการใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงมีผลทำให้เด็กเรียนรู้ร่างกายของตนว่า การใช้ร่าง กายแต่ละส่วนอย่างไร ซึ่งมีความหมายต่อเด็กมาก เด็กจะมีโอกาสได้ประเมินความสามารถของตนเอง ทำให้เด็กได้คิด ได้ตัดสินใจว่าจะเคลื่อนไหวแบบใด อย่างไร อีกทั้ง การเคลื่อนไหวไปพร้อมเพื่อนอย่างมีความหมาย จะทำให้เด็กเรียนรู้การปฏิบัติต่อกัน ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจทั้งเป็นการลดอัตตา (Ego) ไปสู่การมีเหตุผลและคุณธรรม (superego) เด็กได้รับการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ บุคลิก ขอบเขตรอบตัวด้วยการใช้เสียงเพลง ดนตรีทำให้เด็กเรียนรู้จังหวะ และเกิดจินตนาการ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไว้เป็นกิจกรรมหลักในตารางกิจกรรมประจำวันที่เด็กจะต้องได้รับการส่งเสริมกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร? การเคลื่อนไหวจะช่วยให้สายตาของเด็กมีพัฒนาการ รู้ช่องว่างระหว่างบุคคลและสิ่งของ เด็กต้องการเดิน วิ่ง หรือกลิ้ง การกระทำดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกลไกของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของร่างกาย การเคลื่อนไหวจะช่วยให้เด็กรับรู้ภาพที่ปรากฏ แยกออกระหว่างวัตถุกับตัวเด็ก รวมทั้งการกะระยะใกล้-ไกลของตัวเด็กกับวัตถุ ความสามารถของการควบคุมและการประเมินตนเองเกี่ยวกับระยะ น้ำหนัก แรง ความเร็ว ความเร่ง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่เด็กควรตระหนักรู้ ความสามารถในการจำแนกเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมและวัตถุในสิ่งแวดล้อมว่ามีความสัมพันธ์อย่างไร และเด็กเองควรจะตอบสนองอย่างไร อีกทั้งยังเป็นเรื่องของการตระหนักในการฟัง กลไกการรับรู้จะได้รับการพัฒนา เด็กจะมีความสามารถในการนำเอาการรับรู้สิ่งเร้าด้วยการฟังและการสังเกตมาแสดงออกทางการเคลื่อนไหว เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันของรูปร่าง และเด็กที่แตกต่างกันในแต่ละอายุจะมีขนาดและรูปร่างต่างกัน ดังนั้นเด็กจะเรียนรู้ตนเองและสมรรถนะตนเองต่างกัน
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5248 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5248