วุ้นปีโป้นมสด

สร้างโดย อบต.พนมสารคาม (จังหวัดฉะเชิงเทรา)

ผู้จัดทำ นางอัญชลี วิเศษกุล

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ



            การจัดกิจกรรมประกอบอาหารเป็นวิธีการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยการ เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget) ที่เชื่อว่าพัฒนาการทางสติปัญญา เป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลด้วยการใช้ กระบวนการดูดซับประสบการณ์และกระบวนการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ การเรียนรู้โดยการใช้ ประสาทสัมผัส ลงมือปฏิบัติจริง ต่อมาเกิดความคิดทางรูปธรรมซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและตามลําดับ การประกอบอาหารเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวันของเด็ก การเปิดโอกาสให้ เด็กได้ประกอบอาหารด้วยตนเองทําให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรุง วิธีการใช้อุปกรณ์ ตลอดจนขั้นตอนและวิธีการปรุงอาหารที่จะทําให้มีรสชาติเป็นเลิศ กิจกรรมประกอบอาหารจึงเป็นกิจกรรมท่ีเด็กได้ เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็ก ปฐมวัย ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรม ประกอบอาหาร เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลอง ได้รวบรวมข้อมูล จัดหมวดหมู่ จําแนกแจกแจง เรียงลําดับ และเปรียบเทียบ ได้เรียนรู้จากการลงมือ ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง จากการใช้ประสาทสัมผัสท้ังห้า การซึมซับประสบการณ์ จากการทํางาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตจริงของเด็กซึ่งจะเป็นแนวทางให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเด็ก ปฐมวัยได้นําผลการศึกษาครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัยต่อไป

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5233 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5233