โครงการหนูน้อยรักผักสวนครัว

สร้างโดย ศพด.บ้านซำเม็ง (จังหวัดศรีสะเกษ)

ผู้จัดทำ นางสาวชุติกานจน์. พิทักษ์

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน



            1. หลักการและเหตุผล ความสัมพันธ์ของครอบครัวมีส่วนในการส่งเสริมด้านความรัก ความอบอุ่น เมื่อเด็กมาที่โรงเรียนทางโรงเรียนก็จะมีครูผู้สอนเป็นผู้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็ก ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนได้จัดขึ้นสำหรับเด็กนั้น จึงได้เริ่มจัดโครงการ หนูน้อยรักผักสวนครัวผักที่จะนำมาปลูกคือ ผักบุ้งจีนเพราะผักบุ้งจีนเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และการเจริญเติบโตสามารถขึ้นได้รวดเร็วทนต่อสภาพอากาศ เพื่อให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับทางโรงเรียนทำให้พ่อแม่ลูกได้ปลูกผักสวนครัวร่วมกัน เด็กจะเห็นคุณค่าและดูแลผักที่ตนเองปลูกร่วมกับผู้ปกครอง 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและครู 2. เพื่อให้ผู้ปกครองและลูกได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในการทำกิจกรรม 3. เพื่อให้เด็กได้รู้จักการดูแลผักที่ปลูกร่วมกับผู้ปกครอง 4. เพื่อให้เด็กและผู้ปกครองสังเกตการเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน 5. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างครูกับผู้ปกครอง 6. เพื่อนำผักสวนครัวที่ปลูกร่วมกันนำไปประกอบอาหารที่บ้าน 7. เพื่อให้เด็กและผู้ปกครองคิดทำเมนูจากผักบุ้งจีนและนำมาสนทนากับครูและเพื่อน 3. เป้าหมาย ( ปริมาณ ) ผู้ปกครองจำนวน 10 คน ผู้ปกครองได้นำวิธีการปลูกผักสวนครัวมาอธิบายให้เด็กๆฟังและได้ลงมือปลูกผักร่วมกัน ครูกับผู้ปกครองสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมของลูกขณะที่อยู่บ้านและอยู่ที่โรงเรียน (คุณภาพ ) สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน โรงเรียน ผู้ปกครองและครู การนำผักสวนครัวที่ปลูกร่วมกันนำไปประกอบอาหารที่บ้านคิดทำเมนูจากผักบุ้งจีนและนำมาสนทนากับครูและเพื่อน 4. ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน ขั้นที่ 1. ปรึกษาอาจารย์นิเทศจัดทำโครงการหนูน้อยรักผักสวนครัว ขั้นที่ 2 นำเสนอโครงการต่อผู้อำนวยการ ขั้นที่ 3 จัดทำหนังสือเรียนเชิญผู้ปกครองเข้ามาทำกิจกรรม โครงการหนูน้อยรักผักสวน ครัว ขั้นที่ 4 ดำเนินงานตามโครงการเมื่อผู้ปกครองเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกับเด็กแล้ว เด็กและ ผู้ปกครองร่วมกันสังเกตการเจริญเติบโตของผักบั้งจีน จนผักสวนครัวโตเต็มที่พร้อมที่จะนำไปประกอบอาหารปลูก เด็กและผู้ปกครองคิดเมนูอาหารจากผักบุ้งจีนนำมาสนทนากับครูและเพื่อน ผู้ปกครองและครูพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสนใจของเด็กในการทำกิจกรรมและการมีส่วนร่วมของเด็กในการทำกิจกรรม 5. การประเมินผล 1. แบบประเมินความคิดเห็นจากผู้ปกครอง 2. นำผักสวนครัวที่ปลูกร่วมกันนำไปประกอบอาหารที่บ้านคิดทำเมนูจากผักบุ้งจีนและ นำมาสนทนากับครูและเพื่อน 6. สถานที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซำเม็ง 7. ระยะเวลาในการดำเนินการ ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม-25ตุลาคม 8. งบประมาณ ประมาณ 300 บาท 9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้ปกครองปลูกผักสวนครัวและดูแลผักร่วมกับเด็ก 2. ผู้ปกครองเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก 3. เด็กและผู้ปกครองสังเกตการเจริญเติบโตของผักบุ้งจีนเป็นระยะ 4. ผู้ปกครองและเด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการทำกิจกรรม 5. ผู้ปกครองและเด็กร่วมกันคิดเมนูจากผักบุ้งจีนและนำไปประกอบอาหารได้ 6. ผู้ปกครองและครูแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันสังเกตความสนใจของเด็กในการทำกิจกรรมและการมีส่วนร่วมของเด็กในการทำกิจกรรม

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5156 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5156