หนูน้อยปลูกพืชสมุนไพร

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ากวาง (จังหวัดศรีสะเกษ)

ผู้จัดทำ นางอรัญญา ภูพวก

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ



            หนูน้อยปลูกพืชสมุนไพร กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบตฺเหล่ากวางได้จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยตัว"กิจกรรมหนูน้อยปลูกพืชสมุนไพร"ครูจัดประชุมครูและผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอโครงการต่อผู้บรอหารตัวกิกรรมครูจัดทำหนังสือเชิญให้ผู้ปกครอง/หรือปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครองหลังจากนั้นครูให้เด็กเตรียมสมุนไพรมาจากบ้านคนละชนิด ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ครูเตรียมสถานที่เพื่อปลูกสมุนไพร ครูและเด็กร่วมกันปลูกสมุนไพรและแบ่งกลุ่มเด็กดูแลพืชสมุนไพร รดน้ำ และใส่ปุ๋ยกลุ่มละ6-7คนในแต่ละวัน พร้อมสังเกตุการเจริญเติบโต หลังจากนั้นครูนำสมุนไพรมาสอนทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เด็กร่วมกันสนทนาและประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมที่ทำโดยจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์ไว้และเกิดความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดและท้องถิ่นตนเองและเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กร่วมกันเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทร่วมกันในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กร่วมกันและเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับชุมชนเป็นการปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ากวางและนับเป็นการเพิ่มแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่อยู้ใกล้ตัวเด็กและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากของจริงทั้งยังเป็นการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ากวางมีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ น่าดู น่าเรียนเอื้อต่อการพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ากวางจึงจัดทำ"กิจกรรม หนูน้อยปลูกพืชสมุนไพร"นานาชนิดซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้และเป็นการเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความสัมพันธ์อันดีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในกิจกรรมการปลูกสมุนไพร วิธีสอนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม(Participatory Learning;PL) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจเลือกบทเรียนที่ต้องการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่มหรือศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนจะร่วมกิจกรรมการเรียรู้ทุกขั้นตอน ฝึกปฏิบัติการวางแผนการทำกิจกรรม การเรียนรู้ร่วมกันและการทำรายงานผลการเรียนรู้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตั้งแต่เ่มต้น เพราะเป็นการให้ผู้เรียนค้นพบด้วยตนเองเข้าใจความต้องการและทราบระดับความสามารถของตนเองซึ่งจะเป็นส่วนกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5153 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5153