ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่

สร้างโดย - (จังหวัดอุบลราชธานี)

ผู้จัดทำ นางสาวจริยา เจียรกุล

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย



            กิจกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าไหมมัดหมี่ ตัวบ่งชี้ที่ขาด ครู :1.1,1.5,2.1 ศพด. :8.4,8.5,9.4,9.6,10.5, ชุมชน :22.2,23.1,23.2 รูปแบบการสอน การสอนแบบสาธิต วิธีการ ครูจัดกิจกรรมการทำผ้าไหมมัดหมี่โดยให้ครูวิทยากรในชุมชนที่เชี่ยวชาญเรื่องการทำผ้า ไหมมัดหมี่มาช่วยในการสาธิตการทำผ้าไหมมัดหมี่ และให้ความรู้แก่นักเรียน โดยขั้นแรก ครูวิทยากรในชุมชน อธิบายความเป็นมาของผ้าไหมมัดหมี่ และอธิบายวิธีการอุปกรณ์และ ขั้นตอนในการทำผ้าไหมมัดหมี่ และพร้อมทั้งสาธิตวิธีการทำผ้าไหมมัดหมี่ และให้นักเรียน ได้ลองฝึกปฏิบัติกิจกรรมดูบ้าง และครูวิทยากรก็คอยแนะนำอยู่อย่างใกล้ชิด และเมื่อทำกิจ กรรมเสร็จ ครูวิทยากรก็ได้สรุปกิจกรรม ที่ทำในครั้งนี้และถามนักเรียนว่าได้ความรู้อะไรใน การทำกิจกรรมในครั้งนี้ และซักถามข้อสงสัยให้นักเรียนตอบ และใครตอบได้ก็ได้ของ รางวัลที่ระลึก ในกิจกรรมในครั้งนี้ ประโยชน์ที่ได้รับ 1.กิจกรรมนี้สามารถให้นักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกทำ และฝึกใช้สติปัญญา ในการเรียนรู้จากสิ่งต่างๆ 2.เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักวิธีการทำผ้าไหมมัดหมี่ เพื่อสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ 3.เพื่อให้นักเรียนได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในชุมชนของตนเองเพื่อปลูกฝังค่านิยมความเป็นไทย ระยะเวลาดำเนินการ 26-27 ตุลาคม 2558 ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ 8.4 ส่งเสริมพัฒนานวัตกรรม การจัดประสบการณ์ เรียนรู้และสื่อการเรียนการสอน ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 8.5 มีแหล่งเรียนรู้และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดประสบการณ์ 9.2 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง ตอบสนองความสนใจและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน 9.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมค่านิยมที่ดีงาม 9.6 จัดกิจกรรมสืบสาน วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาไทย อย่างสร้างสรรค์ 10.5 มีและใช้แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในและนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 18.1 มีความสนใจใฝ่รู้ รักการอ่าน และรู้จักตั้งคำถาม 21.3 รู้จักท้องถิ่นของตน 23.1 ผู้ปกครองและชุมชนให้การยอมรับศูนย์พัฒนเด็กเล็ก 23.2 ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วมสนับสนุน ในการจัดและพัฒนาการศึกษา

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=5143 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 5143